หนังสือบริคณห์สนธิ คือ ตราสาร ที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท ได้ตกลงร่วมกันจัดทำขึ้น ในการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งจะแสดง รายละเอียด เกี่ยวกับ
หนังสือบริคณห์สนธิ มีกี่หน้า
มีทั้งหมด 2 หน้า โดยแต่ละหน้าจะต้องกรอกข้อมูลจริงทุกประการและต้องถูกต้องสามารถให้นายทะเบียนตรวจสอบได้ ซึ่งแยกออกเป็น 2 หน้าดังนี้
หน้าที่ 1 : ชื่อผู้เริ่มก่อการจดทะเบียน
หน้าที่ 2 : ชื่อผู้เป็นพยาน
หน้าที่ 1 : ชื่อผู้เริ่มก่อการจดทะเบียน
1 ชื่อบริษัท ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2 ที่อยู่ของสำนักงาน จะอยู่ในจังหวัด
3 วัตถุประสงค์ที่จะประกอบการ
4 ผู้ถือหุ้นของบริษัทนี้ต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนหุ้นที่ตนยังใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
5 ทุนของบริษัท
6 รายละเอียดของผู้เริ่มก่อการ
หน้าที่ 2 : ชื่อผู้เป็นพยาน
1 คำรับรองพยาน
*หนังสือบริคณห์สนธิ หน้าที่ 2 ต้องผนึกอากรแสตมป์ 200 บาท
ตัวอย่างหนังสือบริคณห์สนธิ
การจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ ผู้จัดตั้งบริษัทจะต้องร่วมกันจัดทำขึ้นโดยการตกลงรายละเอียดและลงลายมือชื่อ เพื่อให้นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องและยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลตามที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ โดยจะเปิดเผยข้อมูลเฉพาะรายการจดทะเบียนบริษัท เพื่อทางราชการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งบุคคลภายนอกไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลหรือนำไปใช้โดยพลการได้
หนังสือบริคณห์สนธิ ขอที่ไหน
– สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานสาขา
– เว็บ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เอกสารที่ใช้จดทะเบียนบริษัท
- คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
- แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
- หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ชำระค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
- รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
- แบบวัตถุประสงค์ (แบบ ว.)
- รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
- ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
- หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น)
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการ ที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ
- สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
- สำเนาข้อบังคับ ชำระค่าอากรแสตมป์ 200 บาท (ถ้ามี)
- สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น
- กรณีบริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทจำกัดไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีบริษัทจำกัดไม่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้น แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามหรือร่วมลงนาม ผูกพันบริษัท ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้ถือหุ้น ที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับ จำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย
- แบบ สสช.1
- แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
- สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์ 10 บาท)
***หมายเหตุ หากกิจการของท่าน มีคู่ค้า ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ รายได้ของบริษัท เกินตามที่กฎหมายกำหนด ก็จำเป็นจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม