ภงด 3

รับทำบัญชี.COM | ภงด 3 คืออะไร 10 หักกี่เปอร์เซ็นต์ยื่นวันไหน?

Click to rate this post!
[Total: 179 Average: 5]

ภงด 3

ภงด 3 คือ

ภ.ง.ด. 3 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร สำ หรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 50 (3) (4) (5) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) และเสียภาษีตามมาตรา 48 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภงด 3 กับ 53

แบบ ภงด 3

บริษัท ปังปอน จำกัด มีรายละจ่ายค่าจ้างเดือน เมษายน ดังนี้

  • จ่ายค่าเช่า นาย สมพร มุ่งมัน จำนวนเงิน 2,500  บาท วันที่ 2 
  • จ่ายค่าจ้างทำของ นาง สมศรี บุญมี  จำนวนเงิน 1,500 บาท / จ่ายค่าขนส่ง นาย มาโน เสริมดวง จำนวน เงิน 850 บาท ในวันที่ 3

เมื่อได้มีข้อมูลแล้ว นำมาบันทึกลงในโปรแกรมที่ท่านใช้งาน ( ใบแนบตามของกรมสรรพากร )

ใบแนบ ภงด3

ใบแนบ ภงด3

จะเห็นว่า ไม่หัก นาย นาโน เสริมดวง เพราะ หากจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาทั้งหมดไม่ถึง 1,000 บาท (999.99 บาทลงมา) ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะกฎหมายไม่บังคับ แต่ถ้ามีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาทั้งหมดตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป กฎหมายจะบังคับให้ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

วิธียื่น ภงด 3

  1. มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เว้นแต่บุคคลธรรมดาที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนแทน)
  2. หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกคราวที่จ่ายเงินได้ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
  3. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ในกรณีที่เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินได้ออกใบรับสำหรับค่าภาษีที่ได้หักไว้ให้แก่ผู้รับเงิน
  4. นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่
  5. จัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีโดยบัญชีพิเศษ อย่างน้อยจะต้องมีข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

เงินได้ที่ต้องถูกหัก ภงด 3

เงินได้ที่บุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเป็นผู้รับ ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (นำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.3) ที่กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้ 

  1. เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
  2. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และประณีตศิลปกรรม
  3. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  4. เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งฯ เฉพาะประเภทที่กำหนดไว้ ดังนี้
    • เงินรางวัลในการประกวด แข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
    • เงินได้จากการเป็นนักแสดง
    • เงินได้จากการรับโฆษณา
    • เงินได้จากการรับจ้างทำของ
    • เงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ
    • เงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
    • เงินได้จากค่าขนส่ง

หลักการคำนวณ

วิธีคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภงด 3
 
  1. หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกคราวที่จ่ายเงินได้ ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
  2. ออกใบรับรองหัก ณ ที่จ่าย ให้กับผู้ถูกหักเพื่อเป็นหลักฐาน (รูปแบบหนังสือรับรองใช้ตามที่กฎหมายกำหนด)
  3. นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินต่อสำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอย

ตัวอย่าง การหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ใน ภ.ง.ด.3 นั้น คือ การหักจากจำนวนเงินที่จะต้องจ่าย เช่น ต้องจ่าย 1,000 บาท ก็นำ อัตราที่สรรพากรกำหนด ไปคูณ ยกตัวอย่าง 1% เพราะฉะนั้น 1,000*1% = 10 บาท จ่ายจริงแค่ 990 บาท อีก 10 นำส่งกรมสรรพากร

อัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย ภงด 3 มีอะไรบ้าง

  • ค่าเช่าหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินตาม หัก 5 %
  • วิชาชีพอิสระ รับจ้าง จ้างทำของ เงินรางวัล หัก 3 %
  • ค่าโฆษณา หัก 2 %
  • ค่าขนส่ง การเกษตร การอุตสาหกรรม หัก 1 %
  • นอกเหนือจากนี้ ที่เข้าข่าย 40(8) หัก 3 %
  • รัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 %

***หมายเหตุ ต้องดูรายละเอียดในแบบด้านหลังประกอบเพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากมีข้อยกเว้นรายละเอียดปีกย่อยในแต่ละประเภท

ใครบ้าง ที่เป็นผู้หัก และ ผู้ถูกหัก
  1. ผู้มีหน้าที่หัก -บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคล
  2. ผู้ที่ถูกหัก – ลูกจ้าง พนักงาน หรือ บุคคลที่ได้รับเงินจากการจ้างงานเท่าๆ กันทุกเดือน

ตัวอย่าง ภงด 3

         1.เงินรางวัล หัก ณ ที่ จ่าย กี่ เปอร์เซ็นต์

ตอนส่งมอบรางวัล ผู้จ่ายต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ในข้อ 9 ของ ทป.4/2528 ตอนยื่นภาษีประจำปี ตัวผู้มีเงินได้ ต้องเอารายได้ส่วนนี้มายื่นภาษีเป็นรายได้ของตัวเอง โดยถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ตามกฎหมาย และคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป

          2.รายได้ค่าเช่า ยื่น ภงด อะไร

เงินได้ค่าเช่าที่ได้รับล่วงหน้า เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40(5) ดังนั้น หากเงินได้ดังกล่าวได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ผู้มีเงินได้ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ภ งด 3 กับ ภ งด 3 ก ต่าง กัน อย่างไร

  • ภงด 3 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร สำ หรับการหักภาษีณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 50 (3) (4) (5) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) และเสียภาษีตามมาตรา 48 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร
  • ภงด 3ก คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 58 (1) สำ หรับแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร

สรุป

ภงด 3 หรือ ( pnd 3 )  พูด ให้เข้าใจง่ายๆ หลักๆ จะเป็นเงินที่หักจาก ค่าเช่า ค่าอาชีพอสระ ค่าจ้าง ค่าแรง ค่าบริการ เงินรางวัล ค่าขนส่ง เมื่อหักแล้วต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปหลังจ่ายเงินเดือน กำหนดจ่ายชำระก่อนวันที่ 7 ของทุกๆ เดือน แต่จะหัก เฉพาะบุคคลเท่านั้น

ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภงด 3
 
  1. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและ นำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการ เสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความ รับผิดที่ต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระ ภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว0(มาตรา054 แห่งประมวลรัษฎากร)
  2. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หัก นำส่งภายในกำหนดเวลาตาม0จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็น รายเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี(มาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร) ถ้าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาตาม 3. เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร)
  3. ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

เวลาในยื่นแบบ ต้องยื่นภายใน 7 วันของเดือนถัดไป

ภงด 3