อธิบดีแต่งตั้งให้เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่

รับทำบัญชี.COM | สารวัตรใหญ่บัญชีอำนาจหน้าที่คือใคร?

Click to rate this post!
[Total: 104 Average: 5]

อธิบดีแต่งตั้งให้เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่

          สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชี สารวัตรใหญ่บัญชี หมายความว่า อธิบดีและให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายด้วย สารวัตรบัญชี หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ (มาตรา 4)

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกคำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังนี้

          1. คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ ๑๖๓ / ๒๕๕๕ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี ดังนี้

1.1 สารวัตรใหญ่บัญชี ได้แก่ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้อำนวยการสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักข้อมูลธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและผู้อำนวยการสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ

1.2 สารวัตรบัญชี ได้แก่

(๑) ผู้อำนวยการสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ในสังกัดสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ สำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ สำนักกฎหมาย และสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร

(๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานซึ่งมีอายุราชการไม่น้อยกว่า ๕ ปี ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไปในสังกัดสำนักกำกับบัญชีธุรกิจ และสำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ ประเภททั่วไประดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักทะเบียนธุรกิจ สำนักข้อมูลธุรกิจ สำนักกฎหมาย และสำนักธรรมาภิบาลธุรกิจ เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร

(๓) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานซึ่งมีอายุราชการไม่น้อยกว่า ๕ ปี และระดับชำนาญงานขึ้นไป และประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ

(๔) ข้าราชการพลเรือนสามัญตามลำดับดังต่อไปนี้ เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ คือ

   (ก) พาณิชย์จังหวัด

   (ข) ผู้รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัด สำหรับกรณีที่พาณิชย์จังหวัดไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

   (ค) ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการขึ้นไป เรียงตามลำดับอาวุโส ในสังกัดสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำหรับกรณีที่ไม่มีผู้รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัด หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

          2. คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่  ๑๘/๒๕๕๒ เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี และแต่งตั้งสารวัตรบัญชี มีดังนี้

   2.1 สารวัตรใหญ่บัญชี ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ ถึง ๑๖ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ สาขาสระบุรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๓ สาขาเพชรบุรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๖ สาขาปัตตานี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๓ สาขาลำปาง และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ สาขาแม่สะเรียง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สารวัตรใหญ่บัญชีตามข้อ

   2.1 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่ง งาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

   2.2 สารวัตรบัญชี ได้แก่

(๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า และกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร

(๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานหรือระดับปฏิบัติการขึ้นไป ในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ ถึง ๑๖ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ สาขาสระบุรี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๓ สาขาเพชรบุรี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๖ สาขาปัตตานี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๓ สาขาลำปาง และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ สาขาแม่สะเรียง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ทุกท้องที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์นั้น สารวัตรบัญชีตามข้อ 2.2 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่ง งาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

อำนาจหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชี

1. ตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

2. มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ทำการหรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีหรือสถานที่รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของบุคคลดังกล่าวได้ในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้น

3. ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ทำการหรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีตามข้อ 2 เพื่อยึด หรืออายัดบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีได้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บัญชีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับความผิดดังกล่าวนั้นจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

4. มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือ ดังนี้ (๑) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีหรือการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี (๒) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีส่งบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือรหัสบัญชีมาเพื่อตรวจสอบ

5. สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 
อธิบดีแต่งตั้งให้เป็นสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่