การตั้งคณะบุคคล

รับทำบัญชี.COM | คณะบุคคลสามีภรรยาจัดตั้ง 2 คนจะมีปัญหา?

Click to rate this post!
[Total: 95 Average: 5]

คณะบุคคล

คณะบุคคล หมายถึง การตกลงร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ซึ่งมิใช่สามีภริยาที่ได้จัดทะเบียนกันตามกฎหมาย) เพื่อดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกัน โดยสมาชิกทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งหลายอันเกิดจากการประกอบกิจการนั้นๆ โดยไม่จำกัดจำนวนหนี้สินนั้น ทั้งนี้ อาจมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้กระทำการแทนก็ได้

สาระสำคัญของสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล

  1. ชื่อคณะบุคคล
  2. วันที่ทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล
  3. ชื่อสมาชิกของคณะบุคคล (บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมิใช่สามีภริยาที่จดทะเบียนกันตามกฎหมาย และต้องมีอายุตั้งแต่ 20 บริบูรณ์ขึ้นไป)
  4. วัตถุประสงค์ของคณะบุคคล (ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ สสส. และ/หรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ขอรับทุน)
  5. สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่/สถานที่ประกอบกิจการ
  6. การแต่งตั้งและมอบหมายให้ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นผู้กระทำการแทนคณะบุคคลนี้
  7. ลายมือชื่อสมาชิกของคณะบุคคล (ลายเซ็น) ทั้งหมด
  8. ติดอากรแสตมป์ 100 บาท

การจัดตั้ง

  1. จัดเตรียมเอกสารประกอบการจัดตั้งคณะบุคคล ประกอบด้วย สัญญาจัดตั้งคณะบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสมาชิกทุกคน
  2. ยื่นเอกสารประกอบการจัดตั้งคณะบุคคลตามข้อ 1 ต่อกรมสรรพากร เพื่อขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี โดยอาจยื่นต่อสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ หรือสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ของแต่ละจังหวัด หรืออาจยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ต้องยื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้ทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล
  3. กรมสรรพากรออกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีมาให้

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะบุคคล

การเสียภาษีของคณะบุคคล

การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคล จะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล โดยถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร[1]

นอกจาก “คณะบุคคล” จะมีหน้าที่เสียภาษีเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลที่แยกออกจากบุคคลธรรมดาทั่วไปแล้ว เมื่อประกอบธุรกิจมีผลกำไรในแต่ละปี แล้วนำกำไรของคณะบุคคลมาแบ่งให้กับผู้ร่วมลงทุน ส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร[2]

ในการคำนวณเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลไม่ได้แตกต่างจากบุคคลธรรมดา คือ นำเงินได้ทั้งปีตั้งหักด้วยค่าใช้จ่ายเหมาและหักด้วยค่าลดหย่อน

“กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้หักลดหย่อนได้สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยแต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท”

การเสียภาษีของคณะบุคคล ใช้รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) หักค่าใช้จ่ายแบบจ่ายจริง หรือเหมาจ่ายตามอัตราร้อยละที่กรมสรรพากรกำหนด หักค่าลดหย่อน ได้ 60,000 บาท

การยื่นเสียภาษี

ให้ยื่นแบบเสียภาษี ภ.ง.ด. 90 (1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี) และ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ครึ่งปี ภ.ง.ด. 94 (1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน ของทุกปี)

[1] ประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติไว้ ดังนี้ “ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคน ไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้น มีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย”
[2] ประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (14) กล่าวถึงเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โดยบัญญัติไว้ ดังนี้ “เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม”

ที่มาเอกสาร thaihealth.or.th

การตั้งคณะบุคคล โดยมีสามี ภรรยา และบุคคลที่ 3 ได้หรือไม่

ถ้าสามีและภรรยาจดทะเบียนสมรสก็ไม่ควรร่วมกันจดเป็นคณะบุคคลค่ะ แต่หากจะจดเป็นคณะบุคคลก็จะต้องมีบุคคลอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น
1. สามี
2. ภรรยา
3. บุคคลที่ 3 ( รุ่นน้อง, รุ่นพี่, เพื่อน )
– ทั้ง 1. , 2. , และ 3. มาร่วมกันจดเป็นคณะบุคคลได้ค่ะ
– เฉพาะ 1. กับ 3. มาร่วมกันจดเป็นคณะบุคคลได้ค่ะ
– เฉพาะ 2. กับ 3. มาร่วมกันจดเป็นคณะบุคคลได้ค่ะ
**** แต่ 1. กับ 2. จะมาจดเป็นคณะบุคคลไม่ได้ค่ะ ( ในกรณีที่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว จะถือว่าเงินได้ของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี )

อ่านเพิ่มเติม >> ยื่นภาษีแยกหรือรวมดี สามี ภรรยา?

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )