ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

รับทำบัญชี.COM | ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต?

Click to rate this post!
[Total: 241 Average: 5]

ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

               ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิตเป็นการคำนวณต้นทุนการผลิต ซึ่งใช้กับกิจการที่ทำการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก มีการผลิตต่อเนื่องกันไป ปกติจะผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ขายในภายหลัง เช่น กิจการผลิตปูนซีเมนต์ น้ำมัน นอกจากนี้การผลิตที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายแผนก กิจการจะต้องกำหนดกระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีการแบ่งงานกันในแต่ละแผนก ต้นทุนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่สามารถคิดเข้ากับงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้ การรายงานต้นทุนและรายงานสรุปต้นทุนแต่ละแผนกจะทำได้เมื่อสิ้นงวดโดยทั่วไปนิยมรวบรวมต้นทุนของแผนกต่าง ๆ ตามงวดเวลา 1 เดือน ลักษณะสำคัญของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต คือ

1)จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตและจัดทำรายงานแยกเป็นรายแผนก ซึ่งถือว่าเป็นการบันทึกและสรุปต้นทุนการผลิตประจำงวด ตามปกติจะจัดทำตามลักษณของการทำงาน เช่น แผนกตัด แผนกเลื่อย เป็นการบันทึกและสรุปต้นทุนการผลิตประจำงวด
2)ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วยต้นทุนที่เป็นวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละแผนกจะถูกรวบรวมเป็นงวดๆ และนำไปบันทึกบัญชีด้าน เดบิต ของบัญชีงานระหว่างทำของแต่ละแผนก เมื่อทำการผลิตเสร็จในแผนกแต่ละแผนกแล้วจะโอนสินค้าไปผลิตในแผนกต่อไป กิจการจะต้องโอนต้นทุนที่เกี่ยวข้องไปด้วย โดยเครดิตบัญชีงานระหว่างทำของแผนกที่โอนออก และเดบิตงานระหว่างทำของแผนกที่รับโอน
3)มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนหน่วยที่ผลิตเสร็จของแต่ละแผนก ในกรณีที่มีงานระหว่างทำคงเหลือต้นงวดและปลายงวดจะต้องปรับหน่วยงานระหว่างทำให้อยู่ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป
4) คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละแผนกตามงวดที่จัดทำรายงานต้นทุน ซึ่งต้นทุนการผลิตจะประกอบด้วย วัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งตามวิธีนี้จะแยกต้นทุนทั้ง 3 ตัว ออกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนเปลี่ยนสภาพ (ค่าแรงงาน + ค่าใช้จ่ายการผลิต)
5)ต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จจะโอนออกจากงานระหว่างทำไปยังบัญชีงานระหว่างทำของแผนกถัดไป หรือสินค้าสำเร็จรูป ต้นทุนการผลิตแต่ละแผนกจะถูกสะสมไว้ตั้งแต่แผนกแรกจนถึงแผนกสุดท้ายที่ผลิตสินค้านั้นเสร็จ ซึ่งต้นทุนที่สะสมไว้ในแผนกแรก เมื่อโอนไปแผนกที่ 2 จะเรียกว่าต้นทุนโอนมา และเมื่อสะสมไปจนถึงแผนกสุดท้ายเมื่อผลิตสินค้าเสร็จก็จะเรียกว่าต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป
6)การสะสมต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละแผนกจะนำไปแสดงไว้ในรายงานต้นทุนการผลิต ซึ่งจัดทำแยกตามแผนกการผลิต ลักษณะการผลิตตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

การผลิตตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

มีหลายแบบที่แตกต่างกันตามลักษณะกระบวนการผลิต ซึ่งแยกออกเป็น
1) การผลิตแบบเรียงลำดับ (Sequential processing) เป็นการผลิตที่ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านกระบวนการผลิตทุกแผนกตามลำดับ ต้นทุนจะเก็บสะสมจากแผนกที่ 1 โอนไปจนถึงแผนกสุดท้าย และเมื่อผลิตเสร็จในแผนกสุดท้าย ต้นทุนที่ได้จะเรียกว่าต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป การผลิตแบบนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว หรือผลิตสินค้าที่เหมือน ๆ กัน เช่น โรงงานผลิตขนมปัง โรงงานผลิตน้ำตาล
2) การผลิตแบบขนาน (Parallel Processing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์มากกว่าหนึ่งชนิดเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลาย ๆ ส่วน ผ่านกระบวนการผลิตในแผนกที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะดำเนินการผลิตไปพร้อมกันหรือไม่ก็ได้ และจะนำมารวมเป็นสินค้าสำเร็จรูปในแผนกสุดท้าย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ จะแยกการผลิตเป็นแผนกต่าง ๆ และนำมาประกอบเป็นรถยนต์ในแผนกสุดท้าย
3) การผลิตแบบจำแนก (Selective Processing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เริ่มกระบวนการผลิตในแผนกที่ 1 เหมือนกัน ใช้ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตด้วยกัน แต่ได้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แช่แข็ง การผลิตทั้งหมดจะเริ่มในแผนกแรกคือแผนกชำแหละ จะได้เนื้อส่วนต่าง ๆ เนื้อแต่ละส่วนจะแยกสู่กระบวนการผลิตแต่ละชนิด และได้สินค้าสำเร็จรูปแตกต่างกันไปเกินกว่า 1 ชนิด วงจรการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต

ตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต ประกอบด้วย
1)บันทึกการจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตโดย เดบิต บัญชีวัตถุดิบ และจัดทำบัตรวัตถุดิบเพื่อใช้ในการควบคุมวัตถุดิบเมื่อมีการรับ – จ่ายวัตถุดิบ
2)เมื่อเบิกวัตถุดิบไปใช้ การบันทึกบัญชีจะต้องระบุแผนกที่เบิกไปใช้ และการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบไปใช้ จะเดบิต งานระหว่างทำ-แผนกที่เบิกใช้ เครดิต วัตถุดิบ
3)รวบรวมค่าแรงงานที่เกิดขึ้นเป็นค่าแรงงานทางตรง และค่าแรงงานทางอ้อม ตามบัตรบันทึกการทำงานของคนงาน และบันทึกบัญชีโดย เดบิตบัญชีงานระหว่างทำ-แผนกที่เกิดค่าแรงงาน เครดิต ต้นทุนเปลี่ยนสภาพ เนื่องจากค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายการผลิตตามวิธีต้นทุนช่วงการผลิตจะรวมเรียกว่าต้นทุนเปลี่ยนสภาพ
4)เมื่อโอนต้นทุนการผลิตจากแผนกหนึ่งไปสะสมในแผนกถัดไป จะต้องบันทึกบัญชีการโอนต้นทุน โดย เดบิต งานระหว่างทำแผนกที่รับโอน และเครดิต งานระหว่างทำแผนกที่โอน
5)ในแผนกสุดท้ายที่ทำการผลิตเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป และนำเข้าเก็บในคลังสินค้า จะต้องบันทึกต้นทุนการผลิตสินค้า โดยเดบิต สินค้าสำเร็จรูป เครดิต งานระหว่างทำ
6 เมื่อนำสินค้าออกจำหน่ายจะต้องบันทึกต้นทุนของสินค้าด้วยโดย เดบิต ต้นทุนขาย เครดิต สินค้าสำเร็จรูป

การบัญชีต้นทุนช่วง (Cost Accounting) เป็นกระบวนการทางบัญชีที่ใช้ในการวิเคราะห์และบันทึกต้นทุนที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยเฉพาะต้นทุนที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตหรือบริการนั้น ๆ กระบวนการบัญชีต้นทุนช่วงมีเป้าหมายหลักในการช่วยบริษัทหรือองค์กรในการควบคุมต้นทุนการผลิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มกำไรและลดความสูญเสียในกระบวนการทางธุรกิจ

นี่คือขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการบัญชีต้นทุนช่วง

  1. ระบุระยะเวลาของต้นทุนช่วง ต้องระบุระยะเวลาหรือช่วงเวลาที่คุณต้องการวิเคราะห์ต้นทุน ระยะเวลานี้อาจเป็นระยะเวลาวันเดือน ไตรมาส หรือปี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการขององค์กรของคุณ

  2. ระบุประเภทของต้นทุน คุณต้องระบุประเภทของต้นทุนที่คุณต้องการวิเคราะห์ เช่น ต้นทุนวัสดุสิ้นเปลือง ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนค่าเช่าสถานที่ หรือต้นทุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหรือบริการ

  3. ระบุวิธีการคำนวณต้นทุน หลังจากกำหนดระยะเวลาและประเภทของต้นทุน คุณต้องระบุวิธีการคำนวณต้นทุนในระยะเวลานั้น วิธีการคำนวณต้นทุนอาจแบ่งออกเป็นวิธีต่าง ๆ ตามลักษณะของธุรกิจและความเหมาะสม

  4. ระบุวิธีการบันทึกข้อมูล คุณต้องระบุวิธีการบันทึกข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุนที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ระบบบันทึกข้อมูลอาจเป็นเป็นระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบบันทึกข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้

  5. การบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูล ในระยะเวลาที่กำหนด คุณต้องทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนตามประเภทที่คุณระบุ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของต้นทุนในระยะเวลาที่กำหนด

  6. รายงานและการสรุป สุดท้ายคุณต้องรายงานผลการวิเคราะห์ต้นทุนช่วงและสรุปข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าใจและทำการตัดสินใจตามข้อมูลที่คุณได้รายงาน

การบัญชีต้นทุนช่วงช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจของตนเพื่อให้การผลิตหรือบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )