ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

รับทำบัญชี.COM | ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต?

Click to rate this post!
[Total: 241 Average: 5]

ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

               ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิตเป็นการคำนวณต้นทุนการผลิต ซึ่งใช้กับกิจการที่ทำการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก มีการผลิตต่อเนื่องกันไป ปกติจะผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ขายในภายหลัง เช่น กิจการผลิตปูนซีเมนต์ น้ำมัน นอกจากนี้การผลิตที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายแผนก กิจการจะต้องกำหนดกระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีการแบ่งงานกันในแต่ละแผนก ต้นทุนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่สามารถคิดเข้ากับงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้ การรายงานต้นทุนและรายงานสรุปต้นทุนแต่ละแผนกจะทำได้เมื่อสิ้นงวดโดยทั่วไปนิยมรวบรวมต้นทุนของแผนกต่าง ๆ ตามงวดเวลา 1 เดือน ลักษณะสำคัญของการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต คือ

1)จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตและจัดทำรายงานแยกเป็นรายแผนก ซึ่งถือว่าเป็นการบันทึกและสรุปต้นทุนการผลิตประจำงวด ตามปกติจะจัดทำตามลักษณของการทำงาน เช่น แผนกตัด แผนกเลื่อย เป็นการบันทึกและสรุปต้นทุนการผลิตประจำงวด
2)ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วยต้นทุนที่เป็นวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละแผนกจะถูกรวบรวมเป็นงวดๆ และนำไปบันทึกบัญชีด้าน เดบิต ของบัญชีงานระหว่างทำของแต่ละแผนก เมื่อทำการผลิตเสร็จในแผนกแต่ละแผนกแล้วจะโอนสินค้าไปผลิตในแผนกต่อไป กิจการจะต้องโอนต้นทุนที่เกี่ยวข้องไปด้วย โดยเครดิตบัญชีงานระหว่างทำของแผนกที่โอนออก และเดบิตงานระหว่างทำของแผนกที่รับโอน
3)มีการรวบรวมข้อมูลจำนวนหน่วยที่ผลิตเสร็จของแต่ละแผนก ในกรณีที่มีงานระหว่างทำคงเหลือต้นงวดและปลายงวดจะต้องปรับหน่วยงานระหว่างทำให้อยู่ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป
4) คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละแผนกตามงวดที่จัดทำรายงานต้นทุน ซึ่งต้นทุนการผลิตจะประกอบด้วย วัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งตามวิธีนี้จะแยกต้นทุนทั้ง 3 ตัว ออกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนเปลี่ยนสภาพ (ค่าแรงงาน + ค่าใช้จ่ายการผลิต)
5)ต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จจะโอนออกจากงานระหว่างทำไปยังบัญชีงานระหว่างทำของแผนกถัดไป หรือสินค้าสำเร็จรูป ต้นทุนการผลิตแต่ละแผนกจะถูกสะสมไว้ตั้งแต่แผนกแรกจนถึงแผนกสุดท้ายที่ผลิตสินค้านั้นเสร็จ ซึ่งต้นทุนที่สะสมไว้ในแผนกแรก เมื่อโอนไปแผนกที่ 2 จะเรียกว่าต้นทุนโอนมา และเมื่อสะสมไปจนถึงแผนกสุดท้ายเมื่อผลิตสินค้าเสร็จก็จะเรียกว่าต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป
6)การสะสมต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละแผนกจะนำไปแสดงไว้ในรายงานต้นทุนการผลิต ซึ่งจัดทำแยกตามแผนกการผลิต ลักษณะการผลิตตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

การผลิตตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

มีหลายแบบที่แตกต่างกันตามลักษณะกระบวนการผลิต ซึ่งแยกออกเป็น
1) การผลิตแบบเรียงลำดับ (Sequential processing) เป็นการผลิตที่ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านกระบวนการผลิตทุกแผนกตามลำดับ ต้นทุนจะเก็บสะสมจากแผนกที่ 1 โอนไปจนถึงแผนกสุดท้าย และเมื่อผลิตเสร็จในแผนกสุดท้าย ต้นทุนที่ได้จะเรียกว่าต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป การผลิตแบบนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว หรือผลิตสินค้าที่เหมือน ๆ กัน เช่น โรงงานผลิตขนมปัง โรงงานผลิตน้ำตาล
2) การผลิตแบบขนาน (Parallel Processing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์มากกว่าหนึ่งชนิดเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลาย ๆ ส่วน ผ่านกระบวนการผลิตในแผนกที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะดำเนินการผลิตไปพร้อมกันหรือไม่ก็ได้ และจะนำมารวมเป็นสินค้าสำเร็จรูปในแผนกสุดท้าย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ จะแยกการผลิตเป็นแผนกต่าง ๆ และนำมาประกอบเป็นรถยนต์ในแผนกสุดท้าย
3) การผลิตแบบจำแนก (Selective Processing) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เริ่มกระบวนการผลิตในแผนกที่ 1 เหมือนกัน ใช้ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตด้วยกัน แต่ได้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แช่แข็ง การผลิตทั้งหมดจะเริ่มในแผนกแรกคือแผนกชำแหละ จะได้เนื้อส่วนต่าง ๆ เนื้อแต่ละส่วนจะแยกสู่กระบวนการผลิตแต่ละชนิด และได้สินค้าสำเร็จรูปแตกต่างกันไปเกินกว่า 1 ชนิด วงจรการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต

ตามวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต ประกอบด้วย
1)บันทึกการจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตโดย เดบิต บัญชีวัตถุดิบ และจัดทำบัตรวัตถุดิบเพื่อใช้ในการควบคุมวัตถุดิบเมื่อมีการรับ – จ่ายวัตถุดิบ
2)เมื่อเบิกวัตถุดิบไปใช้ การบันทึกบัญชีจะต้องระบุแผนกที่เบิกไปใช้ และการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเบิกวัตถุดิบไปใช้ จะเดบิต งานระหว่างทำ-แผนกที่เบิกใช้ เครดิต วัตถุดิบ
3)รวบรวมค่าแรงงานที่เกิดขึ้นเป็นค่าแรงงานทางตรง และค่าแรงงานทางอ้อม ตามบัตรบันทึกการทำงานของคนงาน และบันทึกบัญชีโดย เดบิตบัญชีงานระหว่างทำ-แผนกที่เกิดค่าแรงงาน เครดิต ต้นทุนเปลี่ยนสภาพ เนื่องจากค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายการผลิตตามวิธีต้นทุนช่วงการผลิตจะรวมเรียกว่าต้นทุนเปลี่ยนสภาพ
4)เมื่อโอนต้นทุนการผลิตจากแผนกหนึ่งไปสะสมในแผนกถัดไป จะต้องบันทึกบัญชีการโอนต้นทุน โดย เดบิต งานระหว่างทำแผนกที่รับโอน และเครดิต งานระหว่างทำแผนกที่โอน
5)ในแผนกสุดท้ายที่ทำการผลิตเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป และนำเข้าเก็บในคลังสินค้า จะต้องบันทึกต้นทุนการผลิตสินค้า โดยเดบิต สินค้าสำเร็จรูป เครดิต งานระหว่างทำ
6 เมื่อนำสินค้าออกจำหน่ายจะต้องบันทึกต้นทุนของสินค้าด้วยโดย เดบิต ต้นทุนขาย เครดิต สินค้าสำเร็จรูป

การบัญชีต้นทุนช่วง (Cost Accounting) เป็นกระบวนการทางบัญชีที่ใช้ในการวิเคราะห์และบันทึกต้นทุนที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยเฉพาะต้นทุนที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตหรือบริการนั้น ๆ กระบวนการบัญชีต้นทุนช่วงมีเป้าหมายหลักในการช่วยบริษัทหรือองค์กรในการควบคุมต้นทุนการผลิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มกำไรและลดความสูญเสียในกระบวนการทางธุรกิจ

นี่คือขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการบัญชีต้นทุนช่วง

  1. ระบุระยะเวลาของต้นทุนช่วง ต้องระบุระยะเวลาหรือช่วงเวลาที่คุณต้องการวิเคราะห์ต้นทุน ระยะเวลานี้อาจเป็นระยะเวลาวันเดือน ไตรมาส หรือปี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการขององค์กรของคุณ

  2. ระบุประเภทของต้นทุน คุณต้องระบุประเภทของต้นทุนที่คุณต้องการวิเคราะห์ เช่น ต้นทุนวัสดุสิ้นเปลือง ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนค่าเช่าสถานที่ หรือต้นทุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหรือบริการ

  3. ระบุวิธีการคำนวณต้นทุน หลังจากกำหนดระยะเวลาและประเภทของต้นทุน คุณต้องระบุวิธีการคำนวณต้นทุนในระยะเวลานั้น วิธีการคำนวณต้นทุนอาจแบ่งออกเป็นวิธีต่าง ๆ ตามลักษณะของธุรกิจและความเหมาะสม

  4. ระบุวิธีการบันทึกข้อมูล คุณต้องระบุวิธีการบันทึกข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุนที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ระบบบันทึกข้อมูลอาจเป็นเป็นระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบบันทึกข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้

  5. การบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูล ในระยะเวลาที่กำหนด คุณต้องทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนตามประเภทที่คุณระบุ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของต้นทุนในระยะเวลาที่กำหนด

  6. รายงานและการสรุป สุดท้ายคุณต้องรายงานผลการวิเคราะห์ต้นทุนช่วงและสรุปข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าใจและทำการตัดสินใจตามข้อมูลที่คุณได้รายงาน

การบัญชีต้นทุนช่วงช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจของตนเพื่อให้การผลิตหรือบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว