ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นหรือเป็นกลุ่มคณะในรูปแบบของบริษัท

รับทำบัญชี.COM | ประกอบกิจการห้างหุ้นส่วนเปิดกิจการขนาดเล็ก?

ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นหรือเป็นกลุ่มคณะในรูปแบบของบริษัท

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และกลายเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักธุรกิจหน้าใหม่ ก้าวเข้าสู่วงการกลายเป็นผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME โดยมีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน ทั้งก่อตั้ง และดำเนินการโดยเจ้าของกิจการคนเดียว หรือร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นหรือเป็นกลุ่มคณะในรูปแบบของบริษัท
อย่างไรก็ตามหากมองย้อนไปในอดีต รูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมจดทะเบียนสำหรับกิจการเริ่มต้นขนาดเล็ก คงหนีไม่พ้นการจัดตั้งในรูปแบบห้างหุ้นส่วน เนื่องจากมีการร่วมลงทุน ความรู้ ความชำนาญกับบุคคลอื่นทำให้กิจการมีโอกาสเติบโตได้ไวกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว  อีกทั้งมีอัตราค่าธรรมเนียมและขั้นตอนการจดทะเบียนง่ายกว่าการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท และด้วยข้อดีดังกล่าวนี้จึงทำให้การดำเนินธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วนยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการที่สนใจจดทะเบียนในรูปแบบห้างหุ้นส่วน มีความเข้าใจในองค์กรธุรกิจรูปแบบนี้ยิ่งขึ้น ในบทความนี้จึงรวบรวมวิธีการและสาระสำคัญสำหรับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ดังนี้

1. ประเภทของห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้น ส่วนไม่จำกัดจำนวน  ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
ห้างหุ้นส่วนสามัญคือบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกัน หุ้นส่วนทุกคนมีหน้ารับผิดชอบร่วมกันทั้งเงินทุนและหนี้สินที่เกิดขึ้นจากกิจการโดยไม่จำกัดความรับผิดชอบ ซึ่งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้กฏหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียน ทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญส่วนใหญ่เลือกไม่ทำการจด จึงไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลทั้งทางแพ่งและทางอาญา อย่างไรก็ตามยังมีห้างหุ้นส่วนจำนวนไม่น้อยที่ยื่นเรื่องของจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และถูกเรียกในนามว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
โดยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จะต้องมีการเตรียมการที่สำคัญ คือ
หุ้นส่วนทุกคนทำการตกลงกันในเรื่องสำคัญ เช่น ชื่อที่อยู่ของหุ้นส่วนทุกคน จำนวนเงินลงทุนของแต่ละคน วัตถุประสงค์ของกิจการ สถานที่ตั้ง ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ (ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนหุ้นส่วนทั้งหมด) และข้อจำกัดหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
ขอตรวจสอบและทำการจองชื่อห้างหุ้นส่วน เพื่อไม่ให้มีชื่อซ้ำกับห้างหุ้นส่วนอื่นๆที่ได้จัดตั้งไปก่อนหน้าแล้ว
จัดทำตรายางของห้างหุ้นส่วนและกรอกรายละเอียดในเอกสารคำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วน
จากนั้นหุ้นส่วนทุกคนไปจดทะเบียนพร้อมกันที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนได้ หรือใช้วิธียื่นขอออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th เมื่อนายทะเบียนจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร จากนั้นให้พิมพ์เอกสารคำขอจดทะเบียนพร้อมลงลายมือชื่อและตราประทับและส่งกลับมาที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทางไปรษณีย์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
(1) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
(2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือห้างหุ้นส่วนที่ประกอบไปด้วยหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ
หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัด ซึ่งอาจต้องรับภาระหนี้สินมากกว่าเงินที่นำมาลงทุน แต่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่มีอำนาจบริหารกิจการและลงนามแทนหุ้นส่วนคนอื่น
หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบหนี้สินแบบจำกัด โดยรับผิดชอบหนี้สินเพียงเท่ากับเงินลงทุนที่ได้ร่วมทุนในกิจการเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิในการรับเลือกให้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
หลังจากมีการเจรจาข้อตกลงต่างๆที่สำคัญพร้อมทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร จะมีการขั้นตอนดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเช่นเดียวกับการจดทะเบียนในรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เพียงแต่ระบุรายการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และเมื่อการจดทะเบียนเสร็จสิ้น จะได้รับเอกสารเป็นหนังสือสำคัญการจดทะเบียน หนังสือรับรองพร้อมทั้งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายต่อไป
ดังนั้นก่อนจะเริ่มต้นประกอบกิจการใดๆก็ตาม การวางแผน เลือกจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจให้เหมาะสมกับกิจการของตนเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยบริหารต้นทุนและกำไรให้กิจการ ซึ่งหากเป็นกิจการเริ่มต้นขนาดเล็ก มีผู้ร่วมลงทุนน้อย และต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งความรู้ ความเชี่ยวชาญร่วมกัน การจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วน ก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย

2. การดำเนินการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อ มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใด ประเภทหนึ่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ กรณี ที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น

3. การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
ใน กรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนประสงค์จะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้

4. รายการจดทะเบียนที่ห้างหุ้นส่วนจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน 
(2) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา 
(3) วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน 
(4) ผู้เป็นหุ้นส่วน 
(5) หุ้นส่วนผู้จัดการ 
(6) ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ 
(7) ตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน 
(8) รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ 
(9) ควบห้างหุ้นส่วน

5. วิธีการจดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
(1) ในกรณีจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อห้าง ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ขอตรวจและจองชื่อห้างหุ้นส่วนเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำหรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน 
(2) ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด 
(3) จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา 
(4) ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่ 
(5) ถ้าประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ 
(6) รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้

6. การลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการ
(1) ผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและ เอกสารประกอบคำขอด้วยตนเอง จะมอบหมายบุคคลอื่นลงลายมือชื่อแทนไม่ได้ 
(2) หุ้นส่วนผู้จัดการผู้ขอจดทะเบียนซึ่งต้องลงชื่อในคำขอจดทะเบียน จะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนพร้อมแสดงต้นฉบับบัตรประจำตัว หรือ 
(3) ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการไม่สามารถลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนตาม (2) ให้หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อต่อหน้าสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา หรือทนายความก็ได้

7. สถานที่รับจดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 และส่วนจดทะเบียนกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.dbd.go.th
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตภูมิกาค สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ ยกเว้น จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี สามารถขอจดทะเบียนได้ทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.dbd.go.th อีกทางหนึ่ง

8. หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน
ห้าง หุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มีหน้าที่ ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี ยื่นต่อสำนักบริหารข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

9. กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
(1) คำขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
(2) คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่ วันที่ได้เปลี่ยนตัว
(3) คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา
(4) คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ
(5) การยื่นรายงานการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนั้น ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชี ภายใน 14 วัน นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน 
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด 
* ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น 
* กรอก รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน กิจการที่จะทำ สานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผุ้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมกับ ประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง และให้ หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ปกติการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล /ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านาย ทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ประสงค์จะไปลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนก็สา มาร จะลงลายมือชื่อต่อหน้าสามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อเป็นการรับรองลายมือชื่อ ของตนได้ในอีกทางหนึ่ง) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้ 
* เสีย ค่าธรรมเนียมโดยนับจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนกล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน เสีย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท กรณีเกิน 3 คน จะเสียค่าธรรมเนียมหุ้นส่วนที่เกินเพิ่มอีกคนละ 200 บาท 
* เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งแล้วจะได้รับหนังสือรับรองและใบสำคัญเป็นหลักฐาน

อ่านเพิ่มเติม >> ประชุมสามัญ

 

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )