งบดุล

รับทำบัญชี.COM | บัญชีงบดุลงบแสดงฐานะการเงิน มีอะไร Excel?

Click to rate this post!
[Total: 95 Average: 5]

งบดุล

งบดุล คือ

งบดุล คือ (Balance sheet) เป็นงบการเงินที่แสดงสถานะทางการเงินของกิจการ เช่น จำนวนสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนทุนของเจ้าของ โดยงบดุลจะถูกจัดทำขึ้นและส่งมอบต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ วันสิ้นรอบบัญชีที่กำหนดไว้ เช่น 3 เดือน , 6 เดือน หรือ 1 ปี

งบดุลแสดงอะไร

งบดุล เป็นรายงานที่แสดงให้ทราบถึงฐานะทางการเงินของบุคลหรือกิจการ ณ ช่วงเวลาหนึ่งตามวันที่ที่ระบุในรายงาน งบดุลจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสุขภาพของกิจการ เพราะจะแสดงให้เห็นว่ากิจการมีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนลงทุนของเจ้าของกิจการเหลืออยู่เท่าไหร่ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสภาพความมั่นคง สภาพหนี้สินและสภาพคล่องของกิจการ

อย่างไรก็ตามการมีความรู้สำหรับอ่านและวิเคราะห์งบดุลได้ ไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับนักลงทุนหรือเจ้าของกิจการเท่านั้น ประชาชนทั่วไปก็ควรมีความรู้เบื้องต้นเหล่านี้เพราะเป็นพื้นฐานทางการเงินที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้จัดการสถานะการเงินของบุคคลได้เช่นกัน ดังนั้นบทความนี้จึงรวบรวมสาระสำคัญเบื้องต้นของรายงานงบดุลที่คุณควรรู้ ดังนี้

งบดุลคืออะไร
โครงสร้างทางการเงินของกิจการทุกกิจการ จะประกอบไปด้วยสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนทุนของเจ้าของกิจการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกรายงานด้วยงบดุล (Balance Sheet) ของกิจการ โดยกฏหมายบังคับให้ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ต้องจัดทำงบดุลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและทำการยื่นแสดงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี

งบดุล (Balance Sheet) หมายถึง งบแสดงฐานะทางการเงินของธุรกิจ ณ วันใดวันหนึ่งตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งจะแสดงให้ทราบว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ จำนวนเท่าใด รายละเอียดการแสดงสินทรัพย์ในงบดุลจะเรียงตามสภาพคล่อง
โดยเงินสดจะมีสภาพคล่องสูงที่สุดเพราะสามารถจ่ายชำระหนี้ได้เร็วกว่า สินทรัพย์อื่นกฎหมายบังคับว่าจะต้องจัดทำงบ ดุลขึ้นมาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดปีการเงิน (ปีการเงินของแต่ละกิจการอาจไม่ตรงกับปีปฏิทินก็ได้ เช่น ปีการเงินอาจเริ่มตั้งแต่ 1 มีนาคม สิ้นสุด 28 กุมภาพันธ์ ในขณะที่ปีปฏิทินเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม สิ้นสุด 31 ธันวาคม ของทุกปี) ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถประเมินและจัดเก็บภาษีได้
อย่างไรก็ตาม กิจการบางแห่งอาจจะจัดทำงบดุลเพื่อแสดงฐานะการเงินทุกวันสิ้นเดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงานของกิจการนั้น ๆ งบดุลของกิจการใดก็จะแสดงเฉพาะฐานะทางการเงินของกิจการนั้น ไม่เกี่ยวกับฐานะทางการเงินของผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของอาจจะมีสินทรัพย์ส่วนตัว เช่น เงินฝากธนาคาร บ้าน รถยนต์ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ แต่สินทรัพย์ดังกล่าวถือเป็นสินทรัพย์ส่วนตัว อันนี้เป็นหลักข้อสมมติฐานหรือแนวคิดของการรายงานที่ถือว่า กิจการแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของ (The business entity) งบดุลจะแสดงการใช้เงินทุนของบริษัทเพื่อสรรหาทรัพยากรที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ สามารถเขียนเป็นสมการง่าย ๆ ดังนี้* สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของกิจการ(ทุน) หรือ* กิจกรรมลงทุน = กิจกรรมจัดหาเงินทุน
ซึ่งการจะจัดทำหรืออ่านงบดุลได้ต้องเข้าใจสมการความสัมพันธ์และความหมายของตัวแปรแต่ละตัวได้ ดังนี้
สมการของงบดุล คือ “ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ”

สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความครอบครองของกิจการ ซึ่งกิจการสามารถนำทรัพยากรเหล่านี้ไปเปลี่ยนเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือชำระหนี้สินของกิจการในอนาคตได้ โดยทรัพยากรที่เรียกว่า ทรัพย์สิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
สินทรัพย์หมุนเวียน คือ ทรัพยากรที่มีสภาพคล่องสูงสามารถขายเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว หรือสามารถแปลเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี เช่น “เงินฝากในธนาคาร , เงินลงทุนระยะสั้น (ลงทุนในหุ้น) , ลูกหนี้การค้า , สินค้าคงเหลือ , ตั๋วรับเงิน”
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน คือ ทรัพยากรที่มีสภาพคล่องต่ำ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีและต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีขึ้น เช่น “อาคารหรือตึกที่ประกอบกิจการ , เครื่องจักร , ที่ดิน”

หนี้สิน หมายถึง ทรัพยากรซึ่งเป็นภาระผูกพันของกิจการ ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตและกิจการจะต้องชำระภาระผูกพันนี้ต่อเนื่องไปในอนาคต ซึ่งหนี้สินแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินของกิจการระยะสั้นที่จะครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี เช่น “เจ้าหนี้การค้า , เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (O/D) , ตั๋วเงินจ่าย , ส่วนของหนี้สินระยะยาว (เงินกู้) ที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปี”
หนี้สินไม่หมุนเวียน คือ หนี้สินระยะยาวที่ต้องใช้เวลาแบ่งชำระมากกว่า 1 ปี เช่น “หุ้นกู้  , เงินกู้ยืมธนาคารระยะยาว (มีสัญญาชำระมากกว่า 1 ปี)”

ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ หรือเรียกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น (ในกรณีกิจการมีเจ้าของมากกว่า 1คนหรือกิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) ซึ่งประกอบไปด้วยทุนที่นำมาลงของเจ้าของกิจการและกำไรสะสม ซึ่งหากเกิดกรณียกเลิกกิจการผู้ถือหุ้นสามารถเรียกร้องจำนวนเงินนี้ได้แต่ต้องหลังจากนำไปหักกับหนี้สินของกิจการ
ซึ่งหากวิเคราะห์จากสมการงบดุล  “ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ” จะเห็นได้ว่า สินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการที่เกิดขึ้น เกิดจากเงินทุน 2 ตัว คือ เงินทุนจากการสร้างหนี้สิน เช่น การกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และเงินทุนที่มาจากการลงทุนของเจ้าของกิจการ
ดังนั้น หากงบดุลรายงานว่ากิจการมีหนี้สิน > ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ หมายถึง สินทรัพย์ที่เกิดขึ้น เกิดมาจากการสร้างหนี้เป็นส่วนใหญ่ เช่น การกู้เงินจากธนาคารมาซื้อเครื่องจักร มาสร้างอาคาร โรงงาน เป็นต้น ทำให้กิจการดังกล่าวมีสภาพคล่องน้อย ในขณะเดียวกัน หากส่วนทุนของเจ้าของกิจการ > หนี้สิน หมายถึงกิจการมีกำไรสะสมหรืออาจมีการเพิ่มทุนจากเจ้าของกิจการเพื่อลงทุนขยายกิจการ บ่งบอกการมีสภาพคล่องที่ดีและการเติบโตของกิจการ
อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้เป็นเพียงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงบดุลที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ ซึ่งงบดุลยังมีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์โดยละเอียดอีกมากและจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญในการศึกษา ดังนั้นการฝึกอ่านงบการเงินบ่อยๆ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ก็จะช่วยให้เราสามารถใช้งบดุลได้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

ประเภทของงบดุล งบดุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. งบดุลแบบบัญชี (Accounting Form)งบดุลแบบบัญชีจะใช้ฟอร์มที่มีลักษณะคล้ายตัว T แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือจะแสดงรายการของสินทรัพย์ ส่วนด้านขวามือจะแสดงรายการของหนี้สินและส่วนของเจ้าของขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบบัญชี มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด ประกอบด้วย บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล” บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2 ทางด้านซ้ายมือให้เขียนรายละเอียดของสินทรัพย์แสดงรายการต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่
ขั้นที่ 3 ทางด้านขวามือให้เขียนรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของที่กิจการมีอยู่
ขั้นที่ 4 รวมยอดทั้ง 2 ด้านให้เท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน
2. งบดุลแบบรายงาน (Report Form) ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบรายงาน มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด คือ บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล” บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2 คือตอนบน ให้เขียนคำว่า “สินทรัพย์” และเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่แล้วรวมยอดทั้งหมดของสินทรัพย์
ขั้นที่ 3 เขียน คำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” ต่อจากสินทรัพย์ให้แสดงรายการที่เป็นหนี้สินก่อนและตามด้วยรายการที่เป็น ส่วนของเจ้าของ แล้วรวมยอดทั้งหมดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของซึ่งจะมียอดเท่ากับสินทรัพย์

งบดุล คือ
งบดุล คือ