การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542

รับทำบัญชี.COM | สรุป พรบ การประกอบธุรกิจของคน ต่างด้าว 3?

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ. 2542

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท และบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรอง แล้วแต่กรณี

1. อย่างไรถือว่าเป็นคนต่างด้าวบุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นคนต่างด้าว
(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
(2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
(3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลตาม (1) หรือ (2)
(4) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของ (1) (2) หรือ (3)

2. ประเภทธุรกิจที่กําหนดไว้ตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวแยกเป็น 3 บัญชี คือ

(1) บัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ
     (1) การทํากิจการหนังสือพิมพ์การทํากิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
     (2) การทํานาทําไร่หรือทําสวน
     (3) การเลี้ยงสัตว์
     (4) การทําป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
     (5) การทําการประมงเฉพาะการจับสัตว์นํ้าในน่านนํ้าไทยและในเขตเศรษฐกิจจําเพาะของประเทศไทย
     (6) การสกัดสมุนไพรไทย
     (7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทยหรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
     (8) การทําหรือหล่อพระพุทธรูปและการทําบาตร
     (9) การค้าที่ดิน

(2) บัญชีสอง ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีหัตถกรรมพื้นบ้านหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี

หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ
    (1) การผลิตการจําหน่ายและการซ่อมบํารุง
         (ก) อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนดินปืนวัตถุระเบิด
         (ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิด
         (ค) อาวุธยุทโธปกรณ์เรืออากาศยานหรือยานพาหนะทางการทหาร
         (ง) อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท
     (2) การขนส่งทางบกทางนํ้าหรือทางอากาศในประเทศรวมถึงกิจการการบินในประเท

หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและหัตถกรรมพื้นบ้าน
     (1) การค้าของเก่าหรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรมหัตถกรรมของไทย
     (2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
     (3) การเลี้ยงไหมการผลิตเส้นไหมไทยการทอผ้าไหมไทยหรือการพิมพ์ลวดลายผ้าไหมไทย
     (4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย
     (5) การผลิตเครื่องทองเครื่องเงินเครื่องถมเครื่องทองลงหินหรือเครื่องเขิน
     (6) การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม
     (1) การผลิตนํ้าตาลจากอ้อย
     (2) การทํานาเกลือรวมทั้งการทําเกลือสินเธาว์
     (3) การทําเกลือหิน
     (4) การทําเหมืองรวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
    (5) การแปรรูปไม้เพื่อทําเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

(3) บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าวคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

(1) การสีข้าวและการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
(2) การทําการประมงเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า
(3) การทําป่าไม้จากป่าปลูก
(4) การผลิตไม้อัดแผ่นไม้วีเนียร์ชิปบอร์ดหรือฮาร์ดบอร์ด
(5) การผลิตปูนขาว
(6) การทํากิจการบริการทางบัญชี
(7) การทํากิจการบริการทางกฎหมาย
(8) การทํากิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
(9) การทํากิจการบริการทางวิศวกรรม
(10) การก่อสร้างยกเว้น
          (ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรเทคโนโลยีหรือความชํานาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษโดยมีทุนขั้นตํ่าของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
          (ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(11) การทํากิจการนายหน้าหรือตัวแทนยกเว้น
          (ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์
         (ข) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จําเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
          (ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายจัดซื้อหรือจัดจําหน่ายหรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจําหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนําเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศโดยมีทุนขั้นตํ่าของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
         (ง) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(12) การขายทอดตลาดยกเว้น
         (ก) การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่าวัตถุโบราณหรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรมหัตถกรรมหรือโบราณวัตถุของไทยหรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
         (ข) การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้ยกเว้นการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยโดยไม่มีการส่งมอบหรือรับมอบสินค้าเกษตรภายในประเทศ
(14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นตํ่ารวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทหรือที่มีทุนขั้นตํ่าของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นตํ่าของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
(16) การทํากิจการโฆษณา
(17) การทํากิจการโรงแรมเว้นแต่บริการจัดการโรมแรม
(18) การนําเที่ยว
(19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
(20) การทํากิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
(21) การทําธุรกิจบริการอื่นยกเว้นธุรกิจบริการที่กําหนดในกฎกระทรวง

3. การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจตาม บัญชี 2 และบัญชี 3
(1) แบบฟอร์มที่ใช้คือแบบ ต.2 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ
(2) ค่าธรรมเนียมคําขอ 2,000 บาท

4. สถานที่ยื่นคําขอให้ยื่นณสํานักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวชั้น 8 กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์จังหวัดนนทบุรีโทรศัพท์ 0 2547 4425-26 โทรสาร 0 2547 4427 หรือที่ E-mail Address: foreign@dbd.go.th
5. ขั้นตอนในการพิจารณาคําขอรับใบอนุญาต
          (1) หากเป็นธุรกิจในบัญชีสองกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทําความเห็นเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณาและรัฐมนตรีฯจะนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบและดําเนินการออกใบอนุญาตภายใน 15 วัน
          (2) หากเป็นธุรกิจในบัญชีสามกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทําสรุปเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อขอความเห็นชอบเมื่อกรรมการเห็นชอบแล้วกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบและดําเนินการออกใบอนุญาตภายใน 15 วัน
          (3) การพิจารณาคําขออนุญาตใช้เวลา 60 วันเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะประกอบธุรกิจได้
          (4) กรณีไม่อนุญาตจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วันและมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วัน (ไม่มีแบบฟอร์ม) สามารถทําเป็นหนังสือยื่นได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าการพิจารณาคําขออุทธรณ์ใช้เวลา 30 วันเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะประกอบธุรกิจได้
6. อัตราค่าธรรมเนียมสําหรับใบอนุญาต
(1) บัญชีสอง: พันละสิบบาทของเงินทุนจดทะเบียนทั้งนี้ไม่ตํ่ากว่า 40,000 และไม่เกิน500,000 บาท
(2) บัญชีสาม : พันละห้าบาทของเงินทุนจดทะเบียนทั้งนี้ไม่ตํ่ากว่า 20,000 และไม่เกิน250,000 บาท
7. คนต่างด้าวบางประเภทมีสิทธิขอหนังสือรับรองเพื่อประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตคือ
(1) คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับ คู่ภาคี (มาตรา 11) สามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีหนึ่งบัญชีสองและบัญชีสามได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี
(2) คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีสองและบัญชีสามได้ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน

8. การยื่นขอหนังสือรับรอง
(1) กรณียื่นขอตามมาตรา 11 ให้ใช้แบบฟอร์มที่ใช้คือแบบต.6 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ
(2) กรณียื่นขอตามมาตรา 12 ให้ใช้หนังสือชี้แจงพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ
(3) ให้ยื่นขอหนังสือรับรองได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและอธิบดีจะออกหนังสือรับรองให้ภายใน 30 วันนับแต่วันแจ้ง
(4) ค่าธรรมเนียมคําขอ 2,000 บาทค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 20,000 บาท
9. ทุนขั้นตํ่าที่ต้องมีสําหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองและเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ
(1) ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองตามสนธิสัญญาต้องมีทุนขั้นตํ่าไม่น้อยกว่า 25% ของค่าเฉลี่ยต่อปีของประมาณการรายจ่ายสามปีตัวอย่างเช่นประมาณการรายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อปีของประมาณการรายจ่าย 3 ปีเท่ากับ 100 ล้านบาททุนขั้นตํ่าจะเท่ากับ 25 ล้านบาทดังนั้นถ้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ทุนจดทะเบียนไม่ถึง 25 ล้านบาทต้องเพิ่มทุนถ้าไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยต้องนําเงินเข้ามา 25 ล้านบาท
(2) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมไม่ต้องมีทุนขั้นตํ่า
(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตมีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ
3.1) จะกู้เงินเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจได้ไม่เกินอัตราส่วนของทุนหนึ่งส่วนต่อเงินกู้เจ็ดส่วน
3.2) กรรมการผู้รับผิดชอบต้องมีภูมิลําเนาในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งคน
3.3) ทุนที่นําเข้ามาจะต้องดํารงไว้ตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจ
(4) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี
(5) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในบัตรส่งเสริมการลงทุน

สถานที่ติดต่อติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ ที่สํานักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวชั้น 8 ห้อง 30803 โทรศัพท์ 0 2547-4425-26 โทรสาร 0 2547 4427 หรือที่ E-mail Address : foreign@dbd.go.th
คําแนะนํา ควรกรอกข้อมูลในคําขอให้ชัดเจนและถูกต้องตามความเป็นจริง

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (foreign business) ในประเทศไทยมีข้อกำหนดและข้อจำกัดที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนและข้อกำหนดหลายประการ เพื่อที่จะเป็นไปตามกฎหมายและสามารถดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง นี่คือขั้นตอนสำคัญในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย

  1. เป็นรายละเอียดความครอบคลุม ให้เริ่มต้นด้วยการวางแผนธุรกิจของคุณให้รายละเอียดและครอบคลุมทุกด้าน เช่น แผนธุรกิจ, การเงิน, กฎหมาย, และภาษี.

  2. สร้างบริษัทหรือธุรกิจ คุณสามารถเลือกที่จะสร้างบริษัทในประเทศไทย หรือใช้วิธีการอื่น เช่น ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในประเทศไทย หรือการซื้อธุรกิจที่มีอยู่แล้ว.

  3. ขอใบอนุญาตหรือสิทธิ์ หากธุรกิจของคุณต้องการใบอนุญาตหรือสิทธิ์เฉพาะในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย เช่น ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณจะต้องขอใบอนุญาตหรือสิทธิ์นี้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง.

  4. ปฏิบัติตามกฎหมายและบริการลูกค้า คุณต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ และให้บริการลูกค้าอย่างเหมาะสมและคุณภาพ.

  5. การเงินและบัญชี คุณควรจัดการการเงินและบัญชีของธุรกิจของคุณอย่างถูกต้อง โดยรวมถึงการเสียภาษีตามกฎหมายที่กำหนด.

  6. สำรวจตลาดและการตลาด คุณควรศึกษาตลาดและการตลาดในประเทศไทยให้เข้าใจเพื่อวางแผนการตลาดและการขายของคุณ.

  7. ประชาสัมพันธ์ การสร้างความรู้จักและความไว้วางใจในชุมชนท้องถิ่นมีความสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจของคุณเจริญรุ่งเรือง.

  8. อนุญาตให้เวลา การประกอบธุรกิจในประเทศต่างจำเป็นต้องให้เวลาและความอดทน เนื่องจากบางขั้นตอนและกฎหมายอาจใช้เวลาอันนาน.

การประกอบธุรกิจในประเทศต่างหรือการเป็นนักลงทุนต่างด้าวมีข้อดีและความสำเร็จในทางธุรกิจของคุณอาจเกิดขึ้นได้ แต่ควรทราบว่ามีข้อจำกัดและกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม คำปรึกษากับนักกฎหมายหรือคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการนี้.

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )