รับทำบัญชี.COM | เผยเคล็ด(ไม่)ลับทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ?

Click to rate this post!
[Total: 23 Average: 5]

เผยเคล็ด(ไม่)ลับทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

การที่ผู้ประกอบการจะทำบัญชีได้อย่างถูกต้องนั้น จะต้องมีผู้ทำบัญชีที่มีความรู้ในธุรกิจที่ทำให้ดีและต้องมีระบบบัญชีที่ดี มีการจัดเอกสารการรับเงินจ่ายเงิน สต็อกสินค้า และส่งสินค้าให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543ประ มวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประมวลรัษฎากร เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาสำหรับการเข้าตรวจสอบของสรรพากร
วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีสำหรับธุรกิจ
ประเภทธุรกิจที่มีความแตกต่างกัน ก็จะทำให้มีรายละเอียดในการทำบัญชีแตกต่างกัน อย่างการทำธุรกิจบริการ จะต้องไม่ลืมที่จะคำนวณภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการให้บริการ หรือธุรกิจผลิตสินค้าพนักงานบัญชี จะต้องตีความให้ถูกต้องว่า สินค้าชนิดใดผลิตเพื่อขาย สินค้าใดรับจ้างผลิต ซึ่งจะต้องมีการลงบัญชีแตกต่างกัน สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ก็จะต้องตรวจสอบพิกัดสินค้าที่นำเข้า หรือส่งออก เพราะหากมีการลงพิกัดผิด ก็อาจจะทำให้ถูกปรับเสียค่าใช้จ่ายโดย รู้เท่าไม่ถึง การณ์ ส่วนธุรกิจลิสซิ่งและเช่าซื้อ ก็ต้องทำการแยกแยะให้ชัดเจนว่าเป็นธุรกรรมเป็นประเภทใด และมีการซื้อขายอสังหา ริมทรัพย์ หรือเป็นการให้เช่า ซึ่งจะมีการลงบัญชีที่แตกต่างกัน
เหตุผลของการจัดทำบัญชีสำหรับธุรกิจ
การทำบัญชีก็เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ สำหรับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในภาวะสำคัญ เพื่อประกอบการพิจารณาเป้าหมายของกิจการ ซึ่งการทำบัญชียังมีประโยชน์เพื่อการสั่งการ และการอำนวยการ รวมถึงการควบคุมบุคลากร และทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรเพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เพื่อให้แน่ใจว่ามีการรายงานและรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร และเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการควบคุม เพื่อหน้าที่ทางสังคม ซึ่งเจ้าของกิจการ กรรมการ หรือผู้ถือหุ้น จะต้องตระหนักถึงการมีระบบบัญชีที่ดี
หลักในการจัดการทางบัญชี
การจัดการบัญชีที่ดี จะต้องมีการจัดสายงานที่ดี และจะต้องมีระบบในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะมีการระบุหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีการใช้กำลังคนที่เหมาะสมกับงาน โดยมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมาย เพื่อเป็นการจูงใจให้เกิดการทำงานไปสู่เป้าหมาย โดยเข้าใจธรรมชาติของบุคคล และมีระบบควบคุมที่มีเสถียรภาพ ซึ่งนักบัญชีที่ดีจะต้องทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางบัญชี อย่างพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 มาตรฐานการบัญชี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการจัดการห้างหุ้นส่วนและบริษัท ซึ่งตามพระราชบัญญัติได้กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ประมวลรัษฎากร สมาคมและมูลนิธิ กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.โรงงาน ,พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ ,พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน , พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม รวมถึงประกาศของกรมทะเบียนการค้า และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นอกจากจะต้องจัดทำบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ผู้จัดทำบัญชีจะต้องเก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี กรณีเลิกกิจการ ซึ่งจะต้องเก็บเอกสารจนกว่าจะส่งมอบให้สารวัตรบัญชีและสารวัตรบัญชี จะต้องเก็บไว้อย่างน้อยอีก 5 ปี

 

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )