ห้างหุ้นส่วนสามัญ ต่างกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อย่างไร

รับทำบัญชี.COM | ประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญต่างกับห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ต่างกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อย่างไร

ห้างหุ้นส่วนคือรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินกิจการ โดยจะแบ่งกำไรและความรับผิดชอบกรณีกิจการขาดทุนตามสัดส่วนที่ตกลงไว้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนจัดว่าเป็นรูปแบบองค์กรทางธุรกิจที่นิยมจัดตั้งมากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสามารถจัดตั้งได้ง่ายขั้นตอนการจดทะเบียนไม่ซับซ้อน เหมาะกับกิจการขนาดเล็กจนถึงกลาง
อย่างไรก็ตามห้างหุ้นส่วนสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งผู้ประกอบการบางรายยังสับสนถึงความแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนสองประเภทนี้ ดังนั้นในบทความนี้จะนำเสนอรายละเอียด ความสำคัญและข้อแตกต่างของห้างหุ้นส่วนแต่ละประเภท เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเลือกจัดตั้งรูปแบบองค์กรธุรกิจที่เหมาะสมกับกิจการของตนเอง
ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) คือ รูปแบบธุรกิจที่บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาร่วมลงทุนและดำเนินกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน โดยหุ้นส่วนทุกคนเป็นหุ้นส่วนชนิดที่ “ไม่จำกัดความรับผิดชอบ” นั่นหมายถึง กรณีห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ หุ้นส่วนทุกคนจะเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้น ซึ่งองค์กรธุรกิจประเภทนี้สามารถเลือกได้ว่าจะจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่ก็ได้

โดยห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนจะมีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งกิจการรูปแบบนี้จะไม่มีตัวตนแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน เช่น กรณีฟ้องร้องคดี จะใช้ชื่อห้างหุ้นส่วนในการฟ้องไม่ได้ ต้องใช้ชื่อผู้จัดการหุ้นส่วนหรือตัวแทนหุ้นส่วนเป็นผู้ฟ้องคดี ในขณะที่ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคล โดยมีผลทางกฏหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited partnership) คือรูปแบบธุรกิจเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนชนิดที่มีการจดทะเบียน มีสภาพเป็นนิติบุคคล และใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ซึ่งข้อสังเกตความแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ องค์ประกอบผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถแยกได้ 2 ประเภท คือ
หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ จะถูกจำกัดหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านหนี้สินของกิจการไว้เพียงจำนวนเงินที่ตนเองลงทุนเท่านั้น
หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ จะมีหน้าที่รับผิดชอบหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งอาจเป็นหุ้นส่วนเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
โดยก่อนการจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องทำความตกลงกันและร่างเอกสารในเรื่องสำคัญๆ ให้ชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ สถานที่ตั้งของกิจการ จำนวนเงินลงทุน/การแบ่งส่วนผลกำไรและความรับผิดชอบกรณีขาดทุนของแต่ละหุ้นส่วน และที่สำคัญต้องมีแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือ ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
ดังนั้นหากกล่าวโดยสรุป องค์กรธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด มีความคล้ายคลึงกันในรูปแบบธุรกิจแต่แตกต่างกันเพียงความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ซึ่งรูปแบบธุรกิจทั้ง 2 แบบนี้ได้ต่างมีข้อดีในเรื่องความมั่นคงและน่าเชื่อถือเนื่องจากประกอบกิจการด้วยความสามารถของหุ้นส่วนหลายคน อีกทั้งการจัดตั้งไม่ยุ่งยากและสามารถเลิกกิจการได้ง่าย แต่ธุรกิจประเภทนี้มีข้อจำกัดในเรื่องการโอนหุ้นหรือถอนเงินทุนของกิจการ อีกทั้งอายุธุรกิจถูกจำกัดด้วยชีวิตของผู้เป็นหุ้นส่วน และอาจเกิดความขัดแย้งภายในจากประเภทของหุ้นส่วนได้ง่าย

ด้วยเหตุนี้ก่อนจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วนทุกรูปแบบ ผู้ร่วมลงทุนต้องมีการเจรจาตกลงที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ เพื่อลดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นและช่วยการบริหารงานเป็นระบบก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >> กิจกรรมขนาดเล็ก

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ต่างกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อย่างไร
ปิดงบเปล่า
ธุรกิจประตูม้วน

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )