รับทำบัญชี รับเหมาก่อสร้าง

รับทำบัญชี.COM | บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างต้นทุนสูงรายได้ต่ำ?

Click to rate this post!
[Total: 230 Average: 5]

รายได้ต้นทุนรับเหมา

บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี รับเหมาก่อสร้าง ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหา ขาดคนทำบัญชี ภาษี ปิดงบการเงิน ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ติดต่อ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า) 

  • ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
  • Email : 9622104@gmail.com
  • Line Official Account : @e200
  • ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน 

หลักการสำคัญของการรับรู้รายได้ต้นทุนรับเหมาจากสัญญาก่อสร้าง คือ การปันส่วนรายได้และต้นทุนให้กับงวดบัญชีที่มีการก่อสร้าง เนื่องจากลักษณะของงานก่อสร้างส่วนใหญ่มีวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดการก่อสร้างต่างรอบบัญชีกัน ซึ่งกิจการต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับการวัดระดับความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กำหนดไว้โดยส่วนนี้ได้สรุปหลักการบัญชีสำหรับสัญญาก่อสร้าง

ก่อสร้าง

รายได้ค่าก่อสร้าง (Contract Revenue) หมายถึง จำนวนรายได้ตามที่ตกลงกันเมื่อเริ่มทำสัญญา และจำนวนเงินที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสัญญาอันเกิดจากการ ดัดแปลงงาน การเรียกร้องค่าชดเชย หรือการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ จำนวนเงินที่เปลี่ยนแปลงสัญญาจะต้องมีความเป็นไปได้ค้อนข้าแน่ที่จะก่อให้เกิดรายได้ และสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

รายได้ก่อสร้าง

หลักการรับรู้รายได้ค่าก่อสร้าง

กิจการต้องวัดมูลค่ารายได้ค่าก่อสร้างด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ได้รับหรือที่ค้างรับ ซึ่งประกอบด้วย

  1. จำนวนรายได้เมื่อเริ่มแรกตามที่ตกลงตามสัญญา
  2. จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสัญญา อันเกิดจากการดัดแปลงงาน การเรียกร้องค่าชดเชย หรือการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังนี้
    • อยู่ในขอบเขตของการมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะก่อให้เกิดรายได้
    • สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
  3. การวัดมูลค่าของรายได้จะถูกกระทบด้วยความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลของเหตุการณ์ใน
  4. อนาคต กิจการต้องทบทวนประมาณการเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือเมื่อความไม่แน่นอนนั้นหมดไป
  5. การดัดแปลงงานตามคำสั่งของลูกค้าจะทำให้ขอบเขตงานตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจทำให้
  6. รายได้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นหรือลดลง จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการดัดแปลงงานจะรวมเป็นรายได้ค่าก่อสร้าง
  7. ได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
    • มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ลูกค้าจะอนุมัติการดัดแปลงงานและจำนวนรายได้ที่เกิดจากการดัดแปลงนั้น
    • สามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนรับรู้รายได้ รับเหมาก่อสร้าง

หลักการสำคัญ 5 ขั้นตอน ของการรับรู้รายได้จากสัญญาก่อสร้าง

ขั้นตอนที่ 1 ระบุสัญญาก่อสร้างที่ทำกับลูกค้า

  • การรวมสัญญา (สัญญาถูกต่อรองร่วมกัน; จำนวนเงินที่จะจ่ายขึ้นอยู่กับสัญญาอื่น; หรือ รายการในสัญญาเป็นภาระเดียวกัน)
  • การแยกสัญญา (ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการรวมสัญญาอย่างน้อยหนึ่งข้อ)
  • การเปลี่ยนแปลงสัญญา

ขั้นตอนที่ 2 ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญาก่อสร้าง

  • มีภาระที่ต้องปฏิบัติหนึ่งภาระ
  • มีภาระที่ต้องปฏิบัติมากกว่าหนึ่งภาระ

ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดราคาของสัญญาก่อสร้าง

  • สัญญาราคาคงที่
  • สัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม (วิธีมูลค่าที่คาดหวัง; วิธีจำนวนเงินที่มีความเป็นไปได้สูงสุด)

ขั้นตอนที่ 4 ปันส่วนราคาของสัญญาก่อสร้างให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา

  • ปันส่วนตามสัดส่วนโดยใช้ราคาขายแบบเอกเทศเป็นเกณฑ์
  • ในกรณีราคาขายแบบเอกเทศไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ต้องประมาณการราคาขายแบบเอกเทศวิธีการที่เหมาะสมวิธีเดียว(วิธีปรับปรุงจากการสำรวจตลาด; วิธีต้นทุนที่คาดไว้บวกด้วยอัตรากำไร; และวิธีส่วนของราคาที่เหลือ)

ขั้นตอนที่ 5 รับรู้รายได้และต้นทุนการก่อสร้าง เมื่อ (หรือขณะที่) กิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น

  • หลักการเพื่อรับรู้รายได้และต้นทุนการก่อสร้าง
  • รายได้ค่าก่อสร้างตามสัญญา (จำนวนรายได้ที่แน่นอนหรือจำนวนรายได้เริ่มแรกตามที่ตกลงไว้ในสัญญา;จำนวนรายได้ของสิ่งตอบแทนผันแปร; จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการดัดแปลงงานตามสัญญา; และการเรียกร้องค่าเสียหาย)
  • ต้นทุนการก่อสร้าง (ต้นทุนส่วนเพิ่มในการได้มาซึ่งสัญญา ต้นทุนการทำให้เสร็จสิ้นตามสัญญาหรือต้นทุนที่เกี่ยวโดยตรงต้นทุนที่ไม่เกี่ยวโดยตรง รายได้ที่กิจการได้รับจากผลพลอยได้ และประเภทของต้นทุก่อสร้าง)
  • วิธีวัดระดับความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (วิธีปัจจัยนำเข้า; วิธีผลผลิต/วิธีผลลัพธ์)
รายได้ต้นทุนรับเหมา

รายได้ต้นทุนรับเหมา รายได้รับเหมาก่อสร้าง

การรับรู้รายได้ และการบันทึกบัญชีของกิจการรับเหมาก่อสร้าง การรับรู้รายได้มี 2 วิธี คือ

  1. เมื่องานเสร็จ ให้รับรู้รายได้ทั้งหมดเมื่อส่งมอบงาน
  2. ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ ทำได้ 3 วิธีคือ
    • คำนวณอัตราส่วนต้นงานงานที่เกิดขึ้นแล้วกับต้นทุนทั้งหมดที่ประมาณว่าจะใช้ (อัตราส่วนงานก่อสร้าง = ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง * 100 / ต้นทุนทั้งหมดโดยประมาณ)
    • ประเมินอัตราส่วนงานที่ทำเสร็จโดยวิศวกร
    • สัดส่วนของงานที่ทำเสร็จกับงานก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา รายได้ที่รับรู้ = ราคาตามสัญญาก่อสร้าง * ร้อยละของงานที่ทำเสร็จ

ต้นทุนรับเหมา

ต้นทุนการก่อสร้าง มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาก่อสร้างที่เกิดขึ้นแล้ว หรือสัญญาก่อสร้างที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยกิจการสามารถระบุต้นทุนการก่อสร้างว่ามีความเกี่ยวข้องเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้างได้อย่างเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ต้นทุนการก่อสร้างรวมถึงต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่กิจการแน่ใจว่าได้รับงานก่อสร้างไปจนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนส่วนเพิ่มในการได้มาซึ่งสัญญา ต้นทุนการทำให้เสร็จสิ้นตามสัญญาหรือต้นทุนที่เกี่ยวโดยตรง ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวโดยตรง รายได้ที่กิจการได้รับจากผลพลอยได้ และประเภทของต้นทุนก่อสร้าง

รายได้รับเหมาก่อสร้าง

ต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง แบ่งได้ 3 ประเภท คือ  1.) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญา 2.) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยทั่วไป และ 3.) ต้นทุนอื่นๆ ที่สามารถเรียกเก็บจากผู้ว่าจ้างภายใต้เงื่อนไขของสัญญา

ต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง

ประเภทต้นทุนการก่อสร้าง

ประกอบด้วย รายการทุกข้อต่อไปนี้

1.) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญา 

ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญาค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ก่อสร้าง ต้นทุนค่าเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปหรือกลับจากสถานที่ก่อสร้าง ค่าเช่าอุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้าง ค่าออกแบบและให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อสร้าง ประมาณการต้นทุนแก้ไขและประกันผลงาน ค่าชดเชยที่บุคคลที่สามเรียกร้อง นอกจากนั้น รายได้จากขายวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างที่ไม่ได้รวมอยู่ในรายได้ค่าก่อสร้างอาจนำไปลดต้นทุนค่าก่อสร้างได้

ต้นทุนรับเหมาก่อร้าง

ตัวอย่างเช่น

  1. ต้นทุนค่าแรงงานและค่าควบคุมงานที่เกิดขึ้น ณ สถานที่ก่อสร้าง
  2. ต้นทุนวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
  3. ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง
  4. ต้นทุนในการย้ายอาคาร เครื่องจักร และวัสดุไปหรือกลับจากสถานที่ก่อสร้าง
  5. ต้นทุนในการเช่าอาคารและอุปกรณ์
  6. ต้นทุนการออกแบบและการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาก่อสร้าง
  7. ประมาณการต้นทุนในการแก้ไขและประกันผลงาน ซึ่งรวมถึงต้นทุนในการรับประกันที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  8. ค่าชดเชยที่บุคคลที่สามเรียกร้อง

รายได้ที่กิจการได้รับจากผลพลอยได้ ซึ่งไม่รวมอยู่ในรายได้ค่าก่อสร้าง อาจนำไปลดต้นทุนข้างต้นได้ เช่น รายได้จากการขายวัสดุเหลือใช้จากการก่สร้าง และจากการจำหน่ายอาคารและอุปกรณ์เมื่อสิ้นสุดสัญญาก่อสร้าง

2.) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยทั่วไป

ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยทั่วไป และสามารถปันส่วนให้กับงานก่อสร้างตามสัญญาได้ เช่น ค่าประกันภัย ต้นทุนการออกแบบและให้ความช่วยเหลือค้านเทคนิคที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาก่อสร้าง ต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อสร้างสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขเพื่อนำมารวมเป็นต้นทุนค่าก่อสร้าง ตามมาตราฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม เป็นต้น 

ค่าใช่จ่ายรับเหมา

หมายเหตุ : โดยการปันส่วนต้นทุนทุกประเภทที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันให้กับงานก่อสร้าง ต้องใช้วิธีการปันส่วนที่เป็นระบบ สมเหตุสมผลอย่างสม่ำเสมอ และใช้เกณฑ์การปันส่วนที่กำหนดจากระดับการดำเนินงานตามปกติของการก่อสร้าง

ตัวอย่างเช่น

  1. ค่าประกันภัย
  2. ต้นทุนการออกแบบและการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญา
  3. ค่าโสหุ้ยการก่อสร้าง รวมถึง ต้นทุนในการจัดทำและประมวลผลค่าแรงงาน
  4. ต้นทุนการกู้ยืม

3.) ต้นทุนอื่นที่สามารถเรียกเก็บจากผู้ว่าจ้างภายใต้เงื่อนไขของสัญญาก่อสร้าง 

ต้นทุนอื่นที่สามารถเรียกเก็บจากผู้ว่าจ้างได้ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาก่อสร้าง อาจรวมถึงต้นทุนการบริหารทั่วไปและต้นทุนในการพัฒนา ซึ่งเป็นจำนวนที่กิจการสามารถเรียกเก็บตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา

รับเหมาก่อสร้าง

เพิ่มเติม : อะไรบ้างไม่ใช่ ต้นทุนก่อสร้าง? ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง หรือไม่สามารถปันส่วนให้กับงานก่อสร้างได้ ต้องไม่นำไปรวมเป็นต้นทุนของสัญญาก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น ต้นทุนการบริหารทั่วไป ซึ่งการเรียกชำระคืนจากผู้ว่าจ้างไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา ต้นทุนในการขาย ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งการเรียกชำระคืนจากผู้ว่าจ้างไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งาน เป็นต้น 

บัญชีที่เกี่ยวข้อง รับเหมาก่อสร้าง

  • เงินล่วงหน้า (Advance Payment) เป็นเงินที่เรียกเก็บ ณ วันทำสัญญาว่าจ้าง โดยผู้รับเหมาจะนำเงินไปเตรียมสถานที่ก่อสร้าง จัดซื้อวัสดุ ฯลฯ ซึ่งเงินล่วงหน้านี้จะถูกหักคืนเมื่อมีการเรียกเก็บเงินค่างวดในแต่ละงวดต่อๆไปณ วันที่เก็บเงินล่วงหน้า ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • เงินงวด เมื่อเรียกเก็บค่างวดงานแต่ละงวด ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหัก ณ ที่จ่าย 3% ของค่างวดงานหลังหักเงินจ่ายล่วงหน้าแต่ละงวดออกแล้ว
  • เงินประกันผลงาน (Retention) เป็นเงินที่เรามีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่ตกลงในสัญญา โดยยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากค่างวดเพื่อเป็นการประกันผลงาน เมื่อได้รับเงินค่างวดโดยหักเงินประกันผลงานต้องถือเงินค่างวดทั้งจำนวนเป็นรายได้ ต้องเรียกเก็บ VAT 7% และถูกหัก ณ ที่จ่าย 3% ของค่างวดงานก่อนหักเงินประกันผลงาน ดังนั้นเมื่อเราได้รับคืนเงินประกันผลงาน จึงไม่ต้องออก VAT และไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย โดยปกติตอนรับค่างวดแต่ละงวดจะประกอบด้วย (เงินงวด – เงินล่วงหน้า – เงินประกันผลงาน) แต่เราจะออก VAT และถูกหัก 3% จากยอด (เงินงวด – เงินล่วงหน้า)

รับเหมา

การบันทึกบัญชี บัญชี “ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา” (Progress Billings) ใช้เพื่อคุมจำนวนเงินค่างวดก่อสร้างที่ได้รับแต่ละงวด กับการรับรู้รายได้ในแต่ละงวดบัญชี ดังนั้นเมื่อสิ้นงวดบัญชียอดคงเหลือของบัญชีนี้อาจเป็นสินทรัพย์(รับรู้รายได้มากกว่าที่เก็บเงิน) หรืออาจเป็นหนี้สิน (เก็บเงินได้มากกว่ารับรู้รายได้) บัญชี “งานระหว่างก่อสร้าง” (Construction in Progress) เป็นบัญชีสินค้าคงเหลือของกิจการนั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม >> เงินประกันผลงานรับเหมา

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชี

1.) เมื่อรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 

DR.ธนาคาร      104

     ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย      3 

CR.เงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง    100 

     ภาษีขาย   7

2.) เมื่อส่งใบแจ้งหนี้เงินค่างวด 2000 หักด้วยเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100 

DR.ลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง 2033 

     เงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100 

CR.ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา 2000 

       ภาษีขายยังไม่ครบกำหนด(7% ของเงินรับ – เงินล่วงหน้า) 133

บันทึกต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง1

3.) เมื่อได้รับเงิน 2000 หักด้วยเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 100 หักด้วยเงินประกันผลงาน 100 

DR.ธนาคาร   1876 

     ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย (3% ของเงินรับ – เงินล่วงหน้า).   57

     ภาษีขายยังไม่ครบกำหนด   133 

CR.ลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง   1933

      ภาษีขาย (7% ของเงินรับ – เงินล่วงหน้า)   133

* * * ยอดคงเหลือลูกหนี้-สัญญาก่อสร้างคือ 100 (เท่ากับเงินประกันผลงาน) * * *ถ้าได้รับเงินไม่ครบถ้วนตามที่แจ้งหนี้ ยอดคงเหลือก็ยังคงค้างอยู่ในบัญชีลูกหนี้-สัญญาก่อสร้าง และบัญชีภาษีขายยังไม่ครบกำหนด

บันทึกบัญชีรับเหมาก่อสร้าง

4.) การบันทึกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง

DR.ค่าวัสดุก่อสร้าง   xx.-

    ค่าแรงงาน    xx.-

    ค่าใช้จ่ายอื่น    xx.-

    ภาษีซื้อ     xx.- 

CR.เงินสด/ธนาคาร     xx.-

5.) เมื่อสิ้นเดือน ให้โอนค่าใช้จ่ายเข้างานระหว่างทำ

DR.งานระหว่างก่อสร้าง    xx.-

CR.ค่าวัสดุก่อสร้าง      xx.-

     ค่าแรงงาน      xx.-

    ค่าใช้จ่ายอื่น.    xx.-

  • บันทึกต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง

6.) เมื่อรับรู้รายได้ 

DR.ค่าก่อสร้างเรียกเก็บตามสัญญา    xx.-

     ต้นทุนงานก่อสร้าง   xx.-

CR.รายได้งานก่อสร้าง    xx.-

      งานระหว่างก่อสร้าง    xx.-

7.) โอนปิดกำไร

DR.รายได้งานก่อสร้าง     xx.-

CR.ต้นทุนงานก่อสร้าง     xx.-

      กำไรจากงานก่อสร้าง     xx.-

บันทึกต้นทุนรับเหมาก่อสร้าง2

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )