ผู้ลงทุน

รับทำบัญชี.COM | ภาระภาษีต่างๆที่ผู้ลงทุนในกองทุนรวมต้องรู้ไว้?

รวมภาระภาษีต่างๆ ที่ผู้ลงทุนในกองทุนรวมต้องรู้ไว้

                ในโลกของปัจจุบันนั้นการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน นักลงทุนต้องแสวงหาทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางของเศรษฐกิจโลก ซึ่งตามมาด้วยผลตอบแทนที่คุ้มค่า ซึ่งทางเลือกอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุนนั้นก็คือ “การลงทุนในกองทุนรวม” กองทุนรวมจึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนของนักลงทุน

โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยที่มีความประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน แต่ก็ติดข้อจำกัดบางประเภทที่ไม่สามารถลงทุนได้ เช่น มีทุนทรัพย์จำกัดที่จะกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง หรือก็ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนจึงเลือกที่จะลงทุนในกองทุนรวม เพื่อให้กองทุนรวมซึ่งจะบริการโดยผู้มีความรู้และความรู้ความเชี่ยวชาญไปดำเนินการลงทุนแทนตนเอง

แต่การลงทุนก็มีความเสี่ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนทุกคนพึงคิด ดังนนั้นการศึกษาความเสี่ยงในการลงทุนและอีกอย่างหนึ่งที่ไม่คววรพลาด ก็คือ “ภาระภาษีจากการลงทุน” จะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและคุ่มค่ากับการลงทุนในกองทุนรวมหรือไม่ เช่นนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงภาระภาษีในการลงทุนกองทุนรวม ก็มาทำความรู้จักกับกองทุนรวมว่าคืออะไร และมีลักษณะเป็นเช่นใดกันค่ะ กองทุนรวม คืออะไร กองทุนรวม (Mutual fund) การรวบรวมเงินลงทุนรายย่อยเป็นก้อนใหญ่ แล้วนำเงินที่รวบรวมได้นั้นไปลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน

โดยมีบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกองทุนเป็นผู้ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและการลงทุนแทนนักลงทุน หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ผู้ถือหน่วยลงทุน” โดยบริษัทจัดหาเงินทุนจะออกหนังสือชี้ชวน เพื่อให้ลงทุนพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน หลังจากนั้นจึงออกและเสนอขายหน่วยให้แก่นักลงทุน

ซึ่งหน่วยลงทุนจะมีฐานะความเสมือนเป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของเงินที่ลงทุนบริหารจัดการจนกองทุนมีผลประโยชนืงอกเงยแล้ว ก้จะนำผลประโยชน์ดังกล่าวมาจ่ายคืนให้กับนักลงทุนตามสัดส่วนที่ได้ลงทุน นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทบริหารจัดการกองทุนาทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของนักลงทุน ถ้าแบ่งตามประเภทจะสามารถแบ่งกองทุนรวมออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.กองทุนเปิด เป็นกองทุนรวมทั่วไปที่ไม่ได้จำกัดขนาดและระยะเวลาในการไถ่ถอนหน่วยลงทุนคืน

2.กองทุนปิด เป็นกองทุนที่จำกัดขนาดและกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนหรือกำหนดอายุของโครงการที่ชัดเจนโดยจะระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนก่อนจำหน่ายลงทุน ภาาระภาษีของกองทุนรวม เมื่อนักลงทุน (หรือผู้ถือหน่วยลงทุน) ได้นำเงินมาลงทุนในกองทุนรวมแล้วนั้น ผลตอบแทนที่นักลงทุนพึงได้รับ มีดังนี้

1. กำไรหรือมูลค่าเพิ่มจากการลงทุน หรือเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน ตัวอย่างเช่น ซื้อหน่วยลงทุนไว้ในราคา 10 บาทต่อหน่วย เป็นจำนวน 2,000 หน่วย เป็นเงิน 20,000 บาท ต่อมานักลงทุนประสงค์ทีจะขายเพราะมูลค่าของหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 15 บาทต่อหน่อย เมื่อได้ขายไปแล้วนักลงทุนย่อมมีกำไรหรือมูลค่าเพิ่มจากการลงทุน จำนวน 5 บาท รวมเป็นเงินต่อหน่วย 10,000 บาท จากการลงทุน

2. เงินปันผล คือกำไรที่บริษัแบ่งจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท กรณีที่มีการระบุในหนังสือชี้ชวนให้ลงทุนของกองทุนรวมว่าเป็นกองทุนรวมที่มีการจ่ายเงินปันผลและได้ประกาศจ่ายเงินปันผลนั้น เงินปันผลที่นักลงทุนนี้ได้รับถือว่าเป็นรายได้พึงได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวม ซึ้งผลตอบแทนที่นักลงทุนผู้ถือหน่วยลงทุนพึงได้รับทั้ง 2 ประการที่ได้กล่าวมาข้างต้น นั้นมีภาระภาษีของการลงทุนในกองทุนรวมจะเป็นอย่างไรนั้นอาจพิจารณาได้ใน 2 อย่างคือ

1. ในแง่กองทุนรวม

2. ในแง่ผู้ถือหน่วยลงทุน 1.ในแง่กองทุนรวม กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากบริษัทจัดการกองทุน กองทุนรวมจึงไม่ใช่หน่วยภาษี เพราะกองทุนรวมมิใช่นิติบุคคลตามความหมายของมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร เนื่องจากกองทุนรวมที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฏหมายดังกล่าว ดังนั้นรายได้ที่กองทุนรวมได้รับนั้นย่อมได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีของกองทุนรวมแต่อย่างใด

2. ในแง่ผู้ถือหน่วย ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจจะมีสัญชาติหรือไม่ก็ได้ ไม่ได้มีบทบัญญัติตามกฎหมายจำกัดหรือบัญญัติห้ามไม่ให้ลงทุนไว้แต่อย่างใด การที่ถือหุ้นหน่วยลงทุนเป็นใครนั้น ย่อมก่อให้เกิดผลทางภาษีอากรที่แตกต่างกัน โดยจะพิจาณาเป็นหัวข้อใหญ่ 2 กรณีดังนี้ 1. กรณีผู้ถือหหน่วยลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา สามาแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ค่ะ

(1) ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทย กรณี ผลตอบแทนเป็นกำไรหรือหรือเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร กรณี ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินปันผล เงินปันผลที่่จ่ายจากเงินกองทุนรวมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักททรัพย์ พ.ศ.2535 นั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ซึ่งกองทุนรวมมีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายทันที่ แต่ผู้ลงทุนมีสิทธิเลือกว่าจะนำเงินปันผลจากกองทุนรวมดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดารวมกับเงินพึงประเมอนประเภทอื่นหรือไม่ โดยผู้ลงทุนจะได้รับเครดิตภาษีเงินปันด้วย

(2) ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่อยู่ในประเทศไทย (ผู้ลงทุนต่างชาติ) กรณี ผลตอบแทนเป็นกำไรหรือหรือเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณี ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินปันผล ผู้ลงทุนต่างชาติจะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะไม่มีสิทธิที่จะต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล 2. กรณีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคล สามาแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ค่ะ

กรณี ผลตอบแทนเป็นกำไรหรือหรือเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน จะไม่ได้รับยกเว้นเงินได้นิติบุคคล ผู้ถือหน่วยลงทุนจึงต้องนำกำไรหรือมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนหรือเงินได้นิติบุคคล

กรณี ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินปันผล ผู้ลงทุนต่างชาติจะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะไม่มีสิทธิที่จะต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล

 
รวมภาระภาษีต่างๆ ที่ผู้ลงทุนในกองทุนรวมต้องรู้ไว้
ปก กระดาษ

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )