รับทำบัญชี.COM | บริษัทที่ใช้สารสนเทศทางการบัญชี มีอะไรบ้าง?

ระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต

ระบบสารสนเทศทางการบัญชีในระบบเดิมนั้น เน้นการบันทึกรายการด้านบัญชีเพื่อจัดทำรายงานการเงินแสดงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มากกว่าการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเช่น เมื่อเกิดการขายขึ้น ระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะบันทึกรายการวันที่เกิดรายการ เดบิตเงินสด หรือลูกหนี้การค้า และเครดิตขาย แต่ฝ่ายขายนั้นต้องการข้อมูลว่าสินค้าที่ขายนั้นเป็นสินค้าใด ผู้ซื้อเป็นใคร ขายได้ในช่วงเวลาไหน ฝ่ายขายจึงจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลไว้ซึ่งเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนเป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ในธุรกิจที่มีระบบการทำการหลายระบบ กลับสร้างปัญหาในเรื่องของความซ้ำซ้อนของข้อมูลมาก เพราะหากแก้ไขปรับปรุงข้อมูลลูกค้าในระบบขาย แต่ไม่ได้ปรับปรุงในระบบสารสนเทศทางการบัญชี ก็จะเกิดปัญหาในการเพิ่มยอดลูกหนี้และการเรียกเก็บเงินได้ ทำให้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีในระบบเดิมไม่สามารถรวบรวมข้อมูลจากหลายๆระบบให้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ระบบการวางแผนทรัพยากรของธุรกิจ (Enterprise Resource Planning : ERP) จึงได้พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในระบบเดิม ให้สามารถใช้ประโยชน์จากการใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากตัวอย่างของการบันทึกรายการขายของระบบสารสนเทศ ทางการบัญชีในระบบเดิมนั้น ในระบบการวางแผนทรัพยากรของธุรกิจจะเชื่อมโยงข้อมูลตั้งแต่ฝ่ายขาย บันทึกรายการสินค้และข้อมูลอื่นๆที่ฝ่ายขายต้องการ และบันทึกรายการบัญชี ปรับลดปริมาณสินค้าคงเหลือลง จากนั้นจะมีผลกระทบต่อแผนการผลิตตลอดจนการสั่งซื้อวัตถุดิบ ดังนั้นระบบ ERP จึงมุ่งเน้นเกี่ยวกับข้อมูลด้านการเงินดังนี้

เงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินสดย่อย

แต่เดิมการซื้อขายสินค้าหรือบริการจะชำระด้วยเงินสด ต่อมาได้พัฒนามาสู่การชำระด้วยเช็คและในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีในด้านอินเตอร์เนท ทำให้กิจการสามารถสั่งชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการให้แก่คู่ค้าของกิจการผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ของกิจการ ซึ่งเป็นการชำระเงินออนไลน์ แม้ว่ากิจการและคู่ค้าของกิจการจะมีบัญชีเงินฝากอยู่ต่างธนาคารกันก็ตาม ซึ่งจะเป็นการเลิกใช้เช็คไปเอง ซึ่งสะดวกต่อการจัดระบบการเงิน สามารถบริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ลดภาระการจัดการด้านเอกสารต่างๆ

         เงินสด ในทางการบัญชีหมายถึง เงินเหรียญ ธนบัตร เช็คและดราฟของธนาคาร เช็คที่ได้รับจากลูกค้า ธนานัติและตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ รวมทั้งเงินฝากธนาคารประเภทถอนได้เมื่อทวงถาม สำหรับเช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าไม่ถือเป็นเงินสด

เงินฝากธนาคาร การรับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการของกิจการต่างๆลูกค้าบางรายชำระเป็นเงินสด บางรายชำระเป็นเช็ค กิจการจะนำเช็คที่ได้รับจากลูกค้าและเงินสดไปฝากธนาคาร โดยเขียนรายการฝากเงินในใบนำฝาก ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี เงินฝากธนาคารมี 3 ประเภทคือ ออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และ กระแสรายวัน ซึ่งจะใช่ร่วมกับสมุดเช็ค

เงินสดย่อย การใช้เช็คเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการมีความสะดวกปลอดภัย อย่างไรก็ตาม รายจ่ายบางรายการไม่สวดต่อการใช้เช็ค บางรายการไม่สามารถจ่ายด้วยเช็คได้ โดยเฉพาะรายจ่ายที่มีจำนวนเงินไม่มาก เช่นค่าไปรษณียภัณฑ์ ค่าแท็กซี่ และค่าวัสดุสำนักงาน ดังนั้นแคชเชียร์ มักจะมอบหมายให้พนักงานคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รักษาเงินสดย่อย ถือเงินสดไว้ก่อนหนึ่ง เรียกเงินสดย่อยว่า Petty Cash เพื่อไว้ใช้จ่ายรายการดังกล่าว และเมื่อเงินสดที่ถือไว้ใกล้หมดหรือเหลือจำนวนน้อย แคชเชียร์ก็จะมอบเงินสดให้เพิ่มเติม

ซึ่งระบบเงินสดย่อยนั้น มี 2 ระบบคือ ยอดคงที่ (Imprest System) และยอดเปลี่ยนแปลง (Fluctuating System) ตามระบบยอดคงที่เมื่อมีการจ่ายเงินสดย่อยจะไม่มีการบันทึกบัญชี จะบันทึกบัญชีก็ต่อเมื่อผู้รักษาเงินสดย่อยเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายไปแล้ว

การเปิดบัญชีเงินสดย่อย เมื่อได้มีการมอบหมายให้มีผู้รักษาเงินสดย่อยและกำหนดวงเงินสดย่อยแล้ว พนักงานบัญชีจะบันทึกรายการจ่ายเช็คในสมุดรายวันจ่ายเงิน

การจ่ายเงินสดย่อยและขอเบิกเงินชดเชย เมื่อมีรายจ่ายใดๆเกิดขึ้นผู้รักษาเงินสดย่อยต้องเก็บหลักฐานการจ่ายเงินไว้ เช่นใบเสร็จรับเงิน พร้อมกับจัดทำใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อย Petty cash voucher เพื่อใช้บันทึก วันที่จ่ายเงิน ผู้รับเงิน รายการค่าใช้จ่าย จำนวนเงิน เมื่อเงินสดย่อยเหลือน้อยให้รวบรวมใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อยเพื่อเบิกเงินชดเชย รวมยอดค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท เขียนลงในใบสรุปยอดค่าใช้จ่าย ส่งมอบให้แก่แคชเชียร์พร้อมกับใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อยและหลักฐานการจ่ายเงิน

ดังนั้นระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคตที่จะเกิดขึ้นนั้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรวบรวมข้อมูลทางการบัญชี มุ่งเน้นที่ความสะดวกรวดเร็วฉับไว ในการใช้งานและเรียกดูข้อมูล ทั้งยังคงให้ความถูกต้อง และสามารถตรวจสอบ และจัดหาข้อมูลสำหรับตัดสินใจ สามารถเตรียมข้อมูลทางการเงินให้กับนักลงทุน และสามารถช่วยในการตัดสินใจต่างๆ แต่ความต้องการในการใช้งานนั้นมีความหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินธุรกิจ เช่น ธุรกิจผลิตสินค้ากับธุรกิจบริการ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความสามารถของระบบสารสนเทศทางการบัญชีได้ต่างกัน และปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ วัฒนธรรมขององค์กรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากต่อการออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพราะการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีในธุรกิจนั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ซึ่งจะเปลี่ยนรวมไปถึงวัฒนธรรมการทำงานในรูปแบบใหม่ขึ้น ระบบนี้สามารถให้ข้อมูลกับผู้บริหารทุกระดับ เกิดการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ทุกข้อมูลที่ได้รับจะเป็นแบบเดียวกัน และมีความถูกต้องซึ่งจะเป็นผลดีต่อองค์กรในทันที และเพิ่มความน่าเชื่อถือได้อีกด้วย

ระบบสารสนเทศ ทางการบัญชีเงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินสดย่อย

ระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต

ระบบสารสนเทศทางการบัญชีในระบบเดิมนั้น เน้นการบันทึกรายการด้านบัญชีเพื่อจัดทำรายงานการเงินแสดงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มากกว่าการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเช่น เมื่อเกิดการขายขึ้น ระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะบันทึกรายการวันที่เกิดรายการ เดบิตเงินสด หรือลูกหนี้การค้า และเครดิตขาย แต่ฝ่ายขายนั้นต้องการข้อมูลว่าสินค้าที่ขายนั้นเป็นสินค้าใด ผู้ซื้อเป็นใคร ขายได้ในช่วงเวลาไหน ฝ่ายขายจึงจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลไว้ซึ่งเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนเป็นต้น

เงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินสดย่อย

แต่เดิมการซื้อขายสินค้าหรือบริการจะชำระด้วยเงินสด ต่อมาได้พัฒนามาสู่การชำระด้วยเช็คและในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีในด้านอินเตอร์เนท ทำให้กิจการสามารถสั่งชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการให้แก่คู่ค้าของกิจการผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ของกิจการ ซึ่งเป็นการชำระเงินออนไลน์ แม้ว่ากิจการและคู่ค้าของกิจการจะมีบัญชีเงินฝากอยู่ต่างธนาคารกันก็ตาม ซึ่งจะเป็นการเลิกใช้เช็คไปเอง ซึ่งสะดวกต่อการจัดระบบการเงิน สามารถบริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ลดภาระการจัดการด้านเอกสารต่างๆ

ระบบสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรภาครัฐและเอกชนมีกระบวนการแปรสภาพ ทรัพยากรที่มีอยู่ให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า อาจจะเพื่อกำไรหรือเพื่อประโยชน์อันสูงสุด ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
-ปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากร ในการดำเนินงานขององค์การต่างๆล้วนมีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ เงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และการบริหาร หรือ M5
-กระบวนการ คือวิธีการในการแปรสภาพปัจจัยในการนำเข้าให้กลายเป้นสินค้าหรือบริการ
-ผลลัพธ์หรือผลผลิต คือ สิ่งที่มาจากปัจจัยนำเข้า เข้าสู่กระบวนการซึ่งอาจเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น หน่วยงานที่ผลิตสินค้า
-ผลป้อนกลับ เพื่อตรวจสอบว่าผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ถ้ามีปัญหาควรแก้ไขที่กระบวนการ

ระบบสารสนเทศ ทางการบัญชี เงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินสดย่อย

ระบบสารสนเทศ ทางการบัญชี เงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินสดย่อย

ปก ผลไม้อบแห้ง

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )