ธุรกิจโกดัง

รับทำบัญชี.COM | พื้นที่โกดังให้เช่าเสียภาษีโรงเรือนอย่างไร?

โกดัง คลังสินค้า

โกดัง คือ อาคารพาณิชย์ที่ใช้สำหรับเก็บสินค้า คลังสินค้าถูกใช้โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ค้าส่ง ธุรกิจขนส่ง ศุลกากร ฯลฯ คลังสินค้าเหล่านี้มักเป็นอาคารขนาดใหญ่ธรรมดาในพื้นที่อุตสาหกรรมของเมืองและเมืองต่างๆ และได้รับการออกแบบสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากรถบรรทุก รถไฟ และเรือ

คลังสินค้า

คลังสินค้ามีกี่ประเภท

ประเภทของคลังสินค้า ในประเทศไทยมี 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1.) คลังสินค้าสาธารณะ (Public warehouse) 

คือ คลังที่เจ้าของธุรกิจเปิดขึ้นเพื่อรับเก็บสินค้าเป็นหลัก เป็นโกดังสินค้าแล้วเก็บค่าเช่าในการจัดเก็บสินค้า เช่น องค์การคลังสินค้า คลังสินค้าทัณฑ์บน เปิดให้บริการเช่า โดยทำสัญญาเช่า มีหลายชนิด เช่น

  • คลังสินค้าสำหรับสินค้าทั่วไป (General merchandise warehouse)
  • คลังสินค้าพิเศษ (Special commodity warehouse) เช่น คลังสินค้าผลไม้ 
  • คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded warehouse) คลังสินค้านำเข้าจากต่างประเทศของศุลกากร จะไม่เสียภาษีนำเข้า จนกว่าจะนำออกจากคลัง

2.) คลังสินค้าเอกชน (Private Warehouse) 

คือ คลังสินค้าที่เอกชนหรือธุรกิจต่าง ๆ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เก็บรักษาสินค้าของตนโดยเฉพาะ เพื่อรอการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า ซึ่งคลังสินค้าประเภทนี้จะควบคุมการดำเนินงานและรับผิดชอบด้านการบริหารคลัง สินค้าที่มิได้แสวงหาประโยชน์จากการรับฝากสินค้าจากบุคคลภายนอก

3 ประเภท โกดัง

3.) คลังสินค้าเพื่อกิจกรรมพิเศษ (Special warehouse)

คือ คลังสินค้าที่ใช้สำหรับเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรกรรม เช่น คลังสินค้าผลไม้ ทุเรียน ลำไย เป็นต้น โดยประเภทของคลังสินค้า ตามลักษณะการครอบครอง

  • คลังสินค้าเอกชน Private Warehouse เป็นทรัพย์สินขององค์กรเจ้าของสินค้า Owner ซึ่งบริหารและการดำเนินการเองทั้งหมด เก็บเฉพาะสินค้าที่ต้องการ
  • คลังสินค้าสาธารณะ Public Warehouse เป็นคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจรับดำเนินการติดตั้งระบบการ คลังสินค้าให้กับหลายองค์กรมาใช้บริการ

5 ข้อดีของโกดังสินค้าส่วนตัว 

  1. ความยืดหยุ่น: คลังสินค้าส่วนตัวนำเสนอโซลูชั่นการจัดเก็บที่ยืดหยุ่นซึ่งสามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะทางธุรกิจได้ สามารถใช้สำหรับการจัดเก็บระยะสั้นหรือระยะยาว
  2. การประหยัดต้นทุน: คลังสินค้าส่วนตัวสามารถช่วยธุรกิจลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บโดยการจัดหาไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเช่าคลังสินค้าแบบรายเดือนเหมือนคลังสินค้าให้เช่าอีกต่อไป เป็นการลงทุนครั้งเดียวและใช้ได้นาน
  3. ความปลอดภัย: โดยทั่วไปแล้วคลังสินค้าส่วนตัวจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยสูงเพื่อป้องกันสินค้าที่เก็บไว้ เช่น กล้องวงจรปิด ระบบเตือนภัย และการควบคุมการเข้าถึงที่ปลอดภัย
  4. การจัดการสินค้าของคลัง: ด้วยการใช้คลังสินค้าส่วนตัว ธุรกิจต่างๆ สามารถควบคุมสินค้าคงคลังของตนได้ดีขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงสินค้าที่เก็บไว้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการและตรวจสอบสินค้าของคลังได้แบบเรียลไทม์
  5. ปรับปรุงระบบโลจิสติกส์: คลังสินค้าส่วนตัวยังสามารถช่วยปรับปรุงระบบลอจิสติกส์โดยให้การเข้าถึงที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้า และช่วยให้ดำเนินการตามคำสั่งซื้อและกระบวนการจัดส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โกดัง

เลือกทำเลโกดังสินค้า

  1. ทำเลใกล้กับกลุ่มลูกค้า: สถานที่ตั้งของคลังสินค้าควรอยู่ใกล้กับตลาดเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและลดเวลาการส่งมอบสินค้า
  2. การเข้าถึง: คลังสินค้าควรเข้าถึงได้ง่ายทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางอากาศ หรือทางทะเล และมีการเชื่อมโยงการขนส่งที่ดีเพื่อให้แน่ใจว่าการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าและออกจากคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ต้นทุนแรงงาน: ควรพิจารณาต้นทุนแรงงานในพื้นที่เมื่อเลือกที่ตั้งคลังสินค้า เนื่องจากอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการดำเนินงาน
  4. กฎระเบียบ: สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าที่ตั้งคลังสินค้าเป็นไปตามระเบียบในท้องถิ่น เช่น ข้อจำกัดในการใช้ที่ดิน ข้อจำกัดด้านความสูง และข้อกำหนดที่จอดรถขั้นต่ำ
  5. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ: สถานที่ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อลดความเสียหาย
  1. สาธารณูปโภคที่ครบครัน: ควรประเมินความพร้อมของสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น ไฟฟ้า น้ำ และก๊าซ เพื่อให้แน่ใจว่าคลังสินค้าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การแข่งขัน: ควรพิจารณาธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เช่น ซัพพลายเออร์ คู่แข่ง และลูกค้า เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันโดยรวมและความสำเร็จของการดำเนินงานคลังสินค้า

ปัจจัยเสี่ยงธุรกิจคลังสินค้า

  1. ภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ทำให้ผู้ประกอบการยังขาดความเชื่อมั่นในการ ผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลทำให้ความต้องการใช้คลังสินค้าขยายตัวได้ไม่มาก
  2. อุปทานคลังสินค้าส่วนเกินในตลาดยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะด้านราคา ทำให้การปรับขึ้นค่าเช่าคลังสินค้าทำได้ยากหรืออาจปรับตัวลงได้ในบางพื้นที่
  3. ราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การพัฒนาคลังสินค้าใหม่ๆ ของภาคเอกชนทำได้ยากขึ้น
  4. การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนที่เน้นเป็นรายพื้นที่ อาจทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต ในอุตสาหกรรมสำคัญขนาดใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์คลังสินค้าในพื้นที่เดิมลดลง
  5. ผู้ประกอบการคลังสินค้าขนาดกลางและเล็กของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันที่ต่ำ เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเป็น คลังสินค้าดั้งเดิมในพื้นที่ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งรูปแบบคลังสินค้า เทคโนโลยี ระบบการบริหารจัดการและปัญหา ด้านเงินทุนสำหรับพัฒนาเพื่อการแข่งขัน จึงส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาว

5 ปัจจัยเสี่ยงต่อธุรกิจคลังสินค้า

ภาษีที่เกี่ยวข้อง

สำหรับโรงงานและโกดังคลังสินค้านั้นถูกจัดอยู่ในประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ประโยชน์อื่น ๆ โดยมีการกำหนดอัตราภาษี 2 ปีแรก คือปี พ.ศ. 2563 และ 2564 ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นโรงงานและโกดังคลังสินค้าหรือประเภทอื่น ๆ ได้แก่

  • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราภาษี  0.3 %
  • มูลค่า  50 – 200 ล้านบาท คิดอัตราภาษี  0.4 %
  • มูลค่า  200-1,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี  0.5 %
  • มูลค่า  1,000- 5,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี  0.6 %
  • มูลค่า  5,000 ล้านบาทขึ้นไป  คิดอัตราภาษี  0.7 %

1.) กรณีให้ผู้อื่นเช่า ให้ใช้อัตรา 12.5 % ต่อปี

ตัวอย่าง เช่น A ให้ B เช่าตึก หรือ อาคาร ในอัตราเดือน ละ 5,000 บาท จะต้องเสียภาษีโรงเรือน ( 5,000 x 12 ) = 60,000 นำค่าเช่าทั้งปี 60,000 x 12.5/100 = 7,500 บาท 

2.) กรณีที่เจ้าของทรัพย์สิน หรือ โรงเรือน นำมาทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีค่าเช่า ให้ นำเอาพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด (ตารางเมตร) ในอาคาร หรือ โรงเรือน มาคำนวณหาภาษี โดย อัตราภาษีต่อตารางเมตร ให้ทำการสอบถามไปยัง อบต. , อบจ. หรือหน่วยงานที่เรียกเก็บภาษีว่าคิด อัตราภาษีโรงเรือนต่อตารางเมตรเท่าไร เนื่องจากแต่ละพื้นที่คิดไม่เท่ากัน 

ตัวอย่าง เช่น A เป็นเจ้าของอาคาร 3 ชั้น และ ใช้ดำเนินการกิจการของตนเอง 2 ชั้น คือชั้นที่ 1 และ 2 โดย ใช้ชั้นบนสุดเป็นที่อยู่อาศัย โดยแต่ละชั้น มีพื้นที่ ใช้สอย ( กว้าง x ยาว ) 4 x 8 = 32 ตรม. และมีพื้นที่ใช้ดำเนินกิจการ 2 ชั้น จะได้ 32 x 2 = 64 ตรม. 

ตัวอย่าง ธุรกิจโกดัง

  1. โกดัง จงศิริ
  2. กันตารัติ กรุ๊ป
  3. กมลสุโกศล คลังสินค้า
  4. กรีนไลท์ เพอร์เฟคท์ โซลูชั่นส์
  5. กรุงเทพคลังสินค้า
  6. โกดัง แสงเจริญ สมุทรปราการ
  7. คลัง 9
  8. คลังบางอิน
  9. คลังสินค้าอาคเนย์-บุณยรักษ
  10. คอนเทนเนอร์ดีโป้ท์เซอร์วิส
  11. คัสตอม โกลบอล เซอร์วิส
  12. เคดับเบิ้ลยูที ซัพพลาย
  13. โคราชเจริญรุ่งเรือง (2018)
  14. จี.บี. แพ็คเกอร์
  15. เจนเนอรัล เอ็กเพรส โซลูชั่น
  16. เจริญ เจริญ ห้องเย็น
  17. เจริญธุรกิจ
  18. ใจดี สปิริท
  19. เค2 แหลมฉบัง พร็อพเพอร์ตี้
  20. คะกาทอง เทรดดิ้ง

โกดังให้เช่าเสียภาษีโรงเรือนอย่างไร ?

สำหรับการเสียภาษีโรงเรือนโก ดังให้เช่า สามารถคำนวณได้ ดังนี้
  1. กรณีให้ผู้อื่นเช่า ให้ใช้อัตรา 12.5 % ต่อปี
    ตัวอย่าง เช่น A ให้ B เช่าตึก หรือ อาคาร ในอัตราเดือน ละ 5,000 บาท จะต้องเสียภาษีโรงเรือน ( 5,000 x 12 ) = 60,000 นำค่าเช่าทั้งปี 60,000 x 12.5/100 = 7,500 บาท
  2. กรณีที่เจ้าของทรัพย์สิน หรือ โรงเรือน นำมาทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีค่าเช่า ให้ นำเอาพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด (ตารางเมตร) ในอาคาร หรือ โรงเรือน มาคำนวณหาภาษี โดย อัตราภาษีต่อตารางเมตร ให้ทำการสอบถามไปยัง อบต. , อบจ. หรือหน่วยงานที่เรียกเก็บภาษีว่าคิด อัตราภาษีโรงเรือนต่อตารางเมตรเท่าไร เนื่องจากแต่ละพื้นที่คิดไม่เท่ากัน
    ตัวอย่าง เช่น A เป็นเจ้าของอาคาร 3 ชั้น และ ใช้ดำเนินการกิจการของตนเอง 2 ชั้น คือชั้นที่ 1 และ 2 โดย ใช้ชั้นบนสุดเป็นที่อยู่อาศัย โดยแต่ละชั้น มีพื้นที่ ใช้สอย ( กว้าง x ยาว ) 4 x 8 = 32 ตรม. และมีพื้นที่ใช้ดำเนินกิจการ 2 ชั้น จะได้ 32 x 2 = 64 ตรม.
    โดย สมมุติอัตราภาษีต่อตารางเมตรเท่ากับ 60 บาท ดังนั้น A ต้อง เสียภาษีโรงเรือน 64 x 60 = 3,840 บาท
โกดังให้เช่าเสียภาษีโรงเรือนอย่างไร
โกดังให้เช่าเสียภาษีโรงเรือนอย่างไร

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )