สินเชื่อที่อยู่อาศัย

รับทำบัญชี.COM | ภาษีที่อยู่อาศัย AO ภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีฐาน?

ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ข้อหารือที่ กค 0811/17583
เลขที่หนังสือ
: กค 0811/17583
วันที่
: 30 ธันวาคม 2541
เรื่อง
: ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 65
ข้อหารือ
: 1. บริษัท ก. ใช้เกณฑ์เงินสดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งบริษัท ก. ได้รับเงินค่าขาย
จาก ปรส. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2541 ตามรายละเอียดดังนี้
ราคาซื้อ 106.00 ล้านบาท
หัก จำนวนเงินหักครั้งที่ 1 (1.96) ล้านบาท
ราคาซื้อสุทธิ 104.04 ล้านบาท
หัก สำรองปรับปรุงเงินต้น (1.31) ล้านบาท
สำรองการชดใช้คืน (21.00) ล้านบาท
ค่าธรรมเนียมการขาย (1.06) ล้านบาท
ประมาณการค่าธรรมเนียมที่ปรึกษา (1.06) ล้านบาท
ยอดเงินจัดสรรสุทธิ 79.61 ล้านบาท
หมายเหตุ จำนวนเงินหักครั้งที่ 1 คือ จำนวนเงินต้นรับชำระโดยผู้ขาย (บริษัท ก.) ในช่วง 1
มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2541 ดังนั้น องค์การฯ ขอหารือว่า
ก. จำนวนเงินรับชำระที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีควรเลือกใช้จากจำนวนใด ระหว่าง
ข้อ 1.1, 1.2 หรือ 1.3
1.1 เงินรับชำระ = ราคาซื้อ = 106.00 ล้านบาท
1.2 เงินรับชำระ = ราคาซื้อสุทธิ = 104.04 ล้านบาท
1.3 เงินรับชำระ = ราคาซื้อ-สำรองปรับปรุงเงินต้น-สำรองการชดใช้คืน
= 106.00 – 1.31 – 21.00 = 83.69 ล้านบาท
ข. ถ้าเลือกใช้กรณี 1.2 ภายหลังเมื่อบริษัท ก. ได้รับชำระเงินสำรองปรับปรุง
เงินต้น, สำรองการชดใช้คืน และได้รับใบแจ้งหนี้ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาในเดือนใด จึงนำไปคำนวณเพื่อ
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะภายใน 15 วัน นับจากวันสิ้นเดือนที่ได้รับชำระ ใช่หรือไม่
2. เมื่อผู้ขายใช้เกณฑ์เงินสดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีรับชำระเงินจากผู้ซื้อจะต้อง
นำเงินที่ได้รับชำระมาเฉลี่ยตามสัดส่วนระหว่างจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยของลูกหนี้แต่ละราย แล้วนำ
ดอกเบี้ยที่เฉลี่ยได้ดังกล่าวมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในเดือนภาษีที่ได้รับชำระเงิน ดังนั้น บริษัท ก. ควร
เลือกใช้ ยอดเงินต้นและดอกเบี้ย ณ วันใด เป็นฐานในการเฉลี่ย ระหว่างวันปิดบัญชี (วันที่ 31 พ.ค.
2541) กับวันปิดการจำหน่าย (วันที่ 1 ต.ค. 2541) เนื่องจากดอกเบี้ยที่ต้องนำไปเสียภาษีแต่ละงวด
ระยะเวลาแตกต่างกัน
31 พ.ค. 2541 1 ต.ค. 2541
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
เงินต้นคงค้าง 223.00 220.00
ดอกเบี้ยคงค้าง 9.00 11.00
% ดบ.ที่จะต้องนำมาเสียภาษี 3.88 4.76
เงินรับงวดแรกจาก ปรส. (กรณีเลือกข้อ 1.1) 106.00 106.00
ดบ.ที่จะต้องนำมาเสียภาษีตามสัดส่วน 4.11 5.05
3. กรณีตาม 2. ดอกเบี้ยคงค้างที่จะนำมาเฉลี่ยเพื่อคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ต้องนำ
ดอกเบี้ยในส่วนที่บริษัท ก. ได้หยุดรับรู้ (memo interest) มารวมคำนวณด้วยหรือไม่ เนื่องจากมี
ลูกค้าบางรายที่บริษัทหยุดรับรู้รายได้เหตุเพราะค้างชำระหนี้เกิน 6 เดือน ซึ่งบริษัทจะบันทึกไว้เป็น
memo interest ในการ์ดลูกหนี้รายตัวแทนการบันทึกบัญชี
31 พ.ค. 2541 % ดอกเบี้ยที่ จำนวนดอกเบี้ย
เสียภาษี เสียภาษี
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
เงินรับงวดแรกจาก (ปรส.) 106.00
(กรณีเลือกข้อ 1.1)
เงินต้นคงค้าง 223.00
ดอกเบี้ยคงค้าง 9.00 3.88 4.11
ดอกเบี้ยคงค้าง + memo- interest 11.61 4.95 5.25
4. ตามหนังสือกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี
หรือนำส่งภาษีในทุกประเภทภาษีในส่วนของกรมสรรพากร โดยขยายเวลานำส่งภาษีออกไปอีก 2 เดือน
นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีหรือนำส่งภาษี ดังนั้น กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ บริษัท
ก. สามารถยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีภายใน 15 มกราคม 2542 ใช่หรือไม่ หากบริษัท ก. ได้รับ
เงินจากการขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2541
แนววินิจฉัย
: 1. กรณีตาม 1. จำนวนเงินรับชำระที่บริษัท ก. จะนำไปคำนวณเสียภาษีต้องใช้ราคาซื้อ
จำนวน 106.00 ล้านบาท ตาม 1.1 เนื่องจากถือเป็นเงินได้ที่บริษัท ก. ได้รับชำระทั้งสิ้น
2. กรณีตาม 2. การเฉลี่ยตามสัดส่วนระหว่างจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยของลูกหนี้แต่ละ
ราย บริษัท จ. จะต้องใช้ยอดเงินต้นและดอกเบี้ย ณ วันปิดการจำหน่าย (วันที่ 1 ตุลาคม 2541)
เนื่องจากถือเป็นวันที่ผู้ขายโอนบรรดาสิทธิทั้งหมดที่ตนมีตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ
3. กรณีตาม 3. ดอกเบี้ยคงค้างที่จะนำมาเฉลี่ยเพื่อคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะตาม 2. นั้น
จะต้องนำดอกเบี้ยในส่วนที่บริษัท จะ ได้หยุดรับรู้รายได้ (memo interst) จนถึงวันปิดการจำหน่าย
มารวมคำนวณด้วย
4. กรณีตาม 4. หากบริษัท ก. ได้รับเงินจากการขายสินเชื่อที่อยู่อาศัยเมื่อวันที่ 5
ตุลาคม 2541 บริษัท ก. มีสิทธิยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีภายในวันที่ 15 มกราคม 2542
เลขตู้
: 61/27376
ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )