รับทำบัญชี.COM | ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่อนไม่ไหวเสียประวัติ?

Click to rate this post!
[Total: 105 Average: 5]

ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

วิกฤตเศรษฐกิจส่วนใหญ่เริ่มขึ้นมาจากภาคธุรกิจประสบปัญหาการขาดทุน ตั้งแต่ปี 2540 เกิดปัญหาทั้งระบบทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควบรวมไปถึงภาคแรงงานในทุกระดับ เนื่องจากขณะนั้นค่าเงินบาทในประเทศมีการแข็งตัวเกินไปจากความจริง จึงส่งผลกระทบต่อปัญหาขาดทุนจากการส่งออกไปจนถึงการปลดและลดแรงงาน จึงทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน

จากปัญหาของภาคธุรกิจก็จะส่งต่อไปถึงเจ้าหนี้ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล และสถาบันการเงินต่างๆเช่น ธนาคารพาณิชย์ กองทุนในประเทศ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซึ่งต้องรับผิดชอบในหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของภาคธุรกิจ มีผลให้เจ้าหนี้ในภาครัฐและเอกชนขาดรายได้จากการเก็บเงินกู้จากภาคธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน ทำให้ผลประกอบการของธุรกิจขาดทุนสูงขึ้นด้วย

รวมทั้งไปขาดทุนกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผันผวน และเมื่อทุกภาคส่วนขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ก็ทำให้รายได้หลักของรัฐบาลที่มาจากภาษีอากรจากประชาชนในการชำระภาษีก็ลดลงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ตามปกติหนี้ที่มีปัญหาที่จะต้องปรับโครงสร้างหนี้มักจะเกิดจากการกู้ยืมเงิน การซื้อตราสารหนี้ การซื้อขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ เช่น หนี้ที่เกิดจากการค้า ตั๋วเงินจ่าย หุ้นกู้ พันธบัตร รวมถึงดอกเบี้ยค้างชำระ การปรับโครงสร้างนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้กิจการมีหนี้สิน และภาระหนี้ที่เหมาะสม กิจการลูกหนี้มีการปรับปรุงธุรกิจให้ดำเนินงานต่อไปได้อย่างมีกำไร และมีประสิทธิภาพ มีกระแสเงินสดเพียงพอสำหรับการชำระหนี้และดอกเบี้ยจ่ายให้กับเจ้าหนี้ รวมทั้งสภาพคล่องของกิจการสูงขึ้น

ทางเลือกในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้


1. กระบวนการภายนอกศาล เป็นกระบวนการที่ศาลไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำโดยเจ้าหนี้กับลูกหนี้ตกลงกันเองในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการชำระเงินการแปลงหนี้เป็นทุน มีข้อดีคือเสียค่าใช้จ่ายน้อยคือไม่ต้องเสียค่าทนายความ ค่าผู้บริหารแผนการฟื้นฟู และเป็นสัญญาณที่ดีว่าธุรกิจไม่ได้มีปัญหารุนแรง ส่วนข้อเสียที่เกิดขึ้นจะตกลงกันเองระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ คือ อาจมีความขัดแย้งกันของกลุ่มเจ้าหนี้ว่าใครควรได้รับการชำระหนี้ก่อนหลังอย่างไร และวิธีนี้ส่วนใหญ่ลูกหนี้จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะเจ้าหนี้มักมีอำนาจการต่อรองสูง
2. กระบวนการภายในศาล เป็นกระบวนการที่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ตกลงกันในศาล ในการดำเนินคดีกับลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบภายนอกศาล รวมทั้งการบังคับคดี เพื่อยึดทรัพย์ของลูกหนี้ขายทอดตลาด เพื่อนำมาชำระหนี้เจ้าหนี้ต่อไป โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในศาลนั้น มีข้อดี-ข้อเสีย ดังนี้

ข้อดีของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในศาล

ข้อดีของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในศาล
– สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มเจ้าหนี้ได้ ศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่าใครควรได้รับผลประโยชน์จากการชำระหนี้ก่อน-หลัง
– ให้ความเป็นธรรมกับลูกหนี้ที่มีอำนาจการต่อรองต่ำ
– สามารถกำหนดระยะเวลาการชำระเงินได้ชัดเจน เจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถทราบระยะเวลาการชำระเงินชัดเจน ถ้าไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมาย
– ลูกหนี้ไม่ถูกรบกวนโดยเจ้าหนี้ เช่น การฟ้องร้อง การส่งจดหมายทวงเงิน

ข้อเสียของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในศาล

– เสียค่าใช้จ่ายสูง เช่นค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ค่าจ้างผู้บริหารในการฟื้นฟูซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ทางลูกหนี้ต้องรับผิดชอบเพียงผู้เดียว
– เจ้าของเสียอำนาจในการควบคุม เพราะต้องอยู่ภายใต้แผนฟื้นฟู ลดอำนาจการตัดสินใจต้องทำตามคำสั่งศาลและผู้บริหารแผนฟื้นฟู
– เป็นสัญญาณที่ไม่ดี ซึ่งสะท้อนกับความเชื่อมันในตัวกิจการของลูกหนี้เอง

วิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สามารถจัดทำได้หลากหลายวิธี แต่จะมีวิธีหลักๆใหญ่ๆดังนี้

  1. การโอนสินทรัพย์อื่น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการชำระหนี้แทนชำระหนี้ด้วยเงินสดหรือหุ้นทุน วิธีนี้ทำให้กิจการไม่เสียอำนาจในการบริหาร แต่จะลดทุนประกอบการของกิจการ เช่น การชำระหนี้ด้วยอสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์อื่นๆ หรือการโอนลูกหนี้ไปให้กับบุคคลที่สาม
  2. การโอนส่วนได้ ส่วนเสียของกิจการเพื่อการชำระหนี้ วิธีนี้กิจการยังมีทุนประกอบการเท่าเดิมแต่สูญเสียการตัดสินใจลง เช่น การออกหุ้นทุน หรือโอนส่วนได้ ส่วนเสียให้กับเจ้าหนี้
  3. การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการชำระหนี้ เช่นการลดอัตราดอกเบี้ย แต่อายุหนี้ยังอยู่เท่าเดิม หรือการขยายเวลาการชำระหนี้ออกไป โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด สำหรับการออกหนี้ใหม่ หรือการลดยอดเงินต้นที่ต้องชำระเมื่อครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือการลดจำนวนดอกเบี้ยที่คงค้างให้ชำระให้ชำระตามเงื่อนไขใหม่ตามที่ได้ตกลงกันไว้

ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้คืออะไรนะ

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เราจะได้ยินกันบ่อยๆ แต่ก็ไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของคำนี้ เรามาเจาะลึกถึงความหมายของประโยคนี้ ว่ามีที่มาและมีข้อดีอย่างไร การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ คือการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งโดยปกติเจ้าหนี้จะไม่พิจารณายอมให้โดยการยินยอมนั้นอาจเกิดขึ้นจากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือทางกฎหมาย

ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้นจะรวมรายการที่เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ครอบครองกิจการ การบริหารงานแทนลูกหนี้ที่ประสบปัญหาหรือการที่ลูกหนี้โอนสินทรัพย์หรือส่วนได้ ส่วนเสียในส่วนของเจ้าของกิจการให้กับเจ้าหนี้ เป็นการช่วยลูกหนี้ปรับปรุงฐานะทางการเงิน มีสภาพคล่องและเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ได้ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่มคือ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และคนกลาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินที่แต่งตั้งทำหน้าที่กำกับดูแล

วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )