ตัวช่วยลดหย่อนภาษี

รับทำบัญชี.COM | ลดหย่อนภาษีลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดู?

Click to rate this post!
[Total: 9 Average: 5]

ตัวช่วยลดหย่อนภาษี

8 ตัวช่วยลดหย่อนภาษี

++++ 8 ตัวช่วยลดหย่อนภาษี ++++
*** ตัวช่วยลดหย่อนภาษีโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
1. สิทธิลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคุณพ่อคุณแม่ ตัวช่วยแรกนี้ สำหรับลูก ๆ ที่มีคุณพ่อคุณแม่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และคุณพ่อคุณแม่มีรายได้ไม่เกินคนละ 30,000 บาท สามารถใช้สิทธิลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคุณพ่อ-คุณแม่ได้ท่านละ 30,000 บาท โดยพี่น้องจะต้องตกลงกันก่อนว่าใครจะเป็นผู้ใช้สิทธิ เพราะสิทธินี้จะไม่สามารถนำมาเฉลี่ยได้หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกหลายคน ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่มีลูก 2 คน คุณพ่ออาจให้สิทธิลูกคนโต คุณแม่ให้สิทธิกับลูกคนเล็กก็ได้ค่ะ (รายได้ในที่นี้รวมถึงดอกเบี้ยรับจากธนาคารที่คุณพ่อคุณแม่ฝากเงินเอาไว้ด้วยนะคะ เนื่องจากบางครั้งเราเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่เกษียณแล้วไม่น่าจะมีรายได้อะไร แต่ปรากฏว่าท่านมีรายได้จากดอกเบี้ยสูงกว่า 30,000 บาท จะไม่สามารถใช้สิทธิได้)
2. การใช้สิทธิลดหย่อนบุตร ในกรณีที่จดทะเบียนสมรส ต่างฝ่ายจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 17,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 3 คน (หากบุตรไม่เรียนหนังสือ หรือเรียนต่างประเทศ จะสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนละ 15,000 บาท) ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่มีบุตร 3 คน และบุตรทั้ง 3 อยู่ในระหว่างการศึกษาในประเทศไทย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้สูงสุดฝ่ายละ 51,000 บาท
3. อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวเป็นคนพิการ สามารถใช้สิทธิอุปการะเลี้ยงดูคนพิการได้ คนละ 60,000 บาท ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะต้องเป็นคุณพ่อคุณแม่ของเรา หรือคุณพ่อคุณแม่ของคู่สมรส เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสิ้น (ไม่จำกัดจำนวนคน) ในกรณีที่เป็นบุคคลอื่น ๆ นอกเหนือจากบุคคลดังกล่าว สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้อีก 1 คน ทั้งนี้ จะต้องทำตามเงื่อนไข โดยผู้มีเงินได้จะต้องเป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ ก็สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ค่ะ
*** ตัวช่วยลดหย่อนภาษีโดยการลงทุนเพิ่ม
4. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพคุณพ่อคุณแม่ ในกรณีที่เราซื้อประกันสุขภาพให้กับคุณพ่อคุณแม่ตนเอง หรือคุณพ่อคุณแม่ของคู่สมรส ค่าเบี้ยประกันดังกล่าวสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ ประกันสุขภาพดังกล่าวจะต้องมีชื่อคุณพ่อหรือคุณแม่ หรือคุณพ่อคุณแม่คู่สมรสเป็นผู้เอาประกัน โดยที่ท่านจะต้องมีเงินได้ในปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท นอกจากนี้จะต้องมีชื่อเราเป็นผู้ชำระค่าเบี้ยประกัน จึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ค่ะ
5. ค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ สามารถใช้ได้เฉพาะเบี้ยประกันชีวิตเท่านั้น ไม่สามารถนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนได้ แม้ว่าจะอยู่ในกรมธรรม์เดียวกันก็ตาม นอกจากนี้ หากมีค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีก 15% ของเงินได้ทั้งปี ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ
6. ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมซื้อบ้าน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ การใช้สิทธิดอกเบี้ยจะต้องดูเงื่อนไขการกู้ยืม เช่น กรณี กู้ซื้อบ้าน 1 หลังเพียงลำพัง เสียดอกเบี้ยทั้งปี 40,000 บาท ก็สามารถนำดอกเบี้ยจำนวน 40,000 บาท มาใช้สิทธิได้เต็มจำนวน หากกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 โดยการกู้ร่วมกับคู่สมรส โดยเสียดอกเบี้ยของบ้านหลังที่ 2 ทั้งหมดจำนวน 60,000 บาท ดังนั้น สามารถใช้สิทธิดอกเบี้ยบ้านหลังที่ 2 ได้จำนวน 30,000 บาท เมื่อรวมกับบ้านหลังที่ 1 แล้ว จะสามารถใช้สิทธิได้จำนวน 70,000 บาท (บ้านหลังที่ 2 ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เต็มจำนวนเนื่องจากเป็นการกู้ร่วม ดังนั้น สิทธิในการลดหย่อนภาษีต้องแบ่งครึ่ง)
7. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 3% ของเงินได้ทั้งปี หรือ 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดต่ำกว่า สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งปี (เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท) ซึ่งในแต่ละปีอาจจะลงทุนไม่เท่ากันก็ได้ แต่แนะนำให้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทุกปี เพราะเงินลงทุนก้อนแรกต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) และผู้ลงทุนจะต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จึงจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้อย่างไม่ผิดเงื่อนไข
8. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) สามารถลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อลงทุนแล้วจะต้องถือครองนาน 5 ปีปฏิทิน หรือ 3 ปีเศษนั่นเอง การลงทุนในกองทุนประเภทนี้จะต้องรับความเสี่ยงได้พอควรเพราะมีความผันผวนจากหุ้น
 

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )