รับทำบัญชี.COM | 8 ขั้นตอนวิธีคัดหนังสือรับรองบริษัทด้วยตัวเองออนไลน์?

Click to rate this post!
[Total: 237 Average: 5]

คัดหนังสือรับรอง

กรุงไทยจับมือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคลผ่านทุกสาขาทั่วประเทศ
นางศรีประภา พริ้งพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) (KTB) เปิดเผยว่า ธนาคารและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ร่วมกันพัฒนาบริการคัดหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านธนาคาร (e-Certificate) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาที่ต้องการขอหนังสือรับรองนิติบุคคล รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยสามารถยื่นขอและรับหนังสือรับรองได้ทันทีที่สาขาของธนาคาร กรุงไทยทั่วประเทศ

ธนาคารได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบ Cash Management เพื่อเพิ่มช่องทางในการให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการขอหนังสือรับรองนิติบุคคล โดยนอกเหนือจากช่องทางที่ลูกค้าต้องเดินทางไปขอรับหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจัดส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) หรือ พนักงานส่งเอกสาร (DEB Express Service) แล้ว ลูกค้ายังสามารถขอหนังสือรับรองผ่านสาขาของธนาคารกรุงไทยที่มีอยู่ กว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 เป็นต้นไป

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึงการใช้บริการว่า ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ 2 ช่องทาง คือ ยื่นผ่านระบบ e-Certificate ทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ www.dbd.go.th และพิมพ์ใบแจ้งยอดค่าธรรมเนียม โดยเลือกชำระเงินผ่าน 3 ช่องทางได้แก่ สาขา เครื่อง ATM และระบบอินเทอร์เน็ต โดยรับหนังสือรับรองได้ที่สาขาที่ใช้บริการ ส่วนอีกช่องทางหนึ่ง ลูกค้าสามารถติดต่อขอรับบริการได้โดยตรงที่สาขาของธนาคาร พร้อมรอรับหนังสือรับรองได้ภายใน 15 นาที โดยธนาคารคิดค่าบริการการออกหนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับละ 150 บาท

บุคคลทั่วไปมีสิทธิที่จะขอตรวจสอบ ขอหนังสือรับรอง หรือคัดสำเนาเอกสารทางทะเบียนที่ได้จดทะเบียนหรือขออนุญาตไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจและไม่ต้องแนบเอกสารหลักฐานใดประกอบการยื่นคำร้อง ทั้งนี้โดยเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย +++
เอกสารที่ให้บริการตรวจค้น ขอหนังสือรับรองและคัดสำเนา
1.ทะเบียนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
2.ทะเบียนบริษัทจำกัด
3.ทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด
4.ทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
5.งบการเงินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
6.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
7.ทะเบียนพาณิชย์ (ประเภทธุรกิจของบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน)
8.ทะเบียนสมาคมการค้าและหอการค้า รวมทั้งงบการเงิน

คัดหนังสือรับรอง
คัดหนังสือรับรอง