อาชีพ

รับทำบัญชี.COM | วิชาชีพ ลักษณะของวิชาชีพกับความหมาย?

Click to rate this post!
[Total: 226 Average: 5]

ความหมายของวิชาชีพ

อาชีพ คือ การทำมาหากิน ทำธุรกิจ ตามความชอบหรือความถนัด ได้ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน ธุรกิจ หมายถึง อาชีพ หรือการประกอบการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้เกิดผลกำไร ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจมีความชอบธรรมที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากธุรกิจนั้น ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การโฆษณาจึงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ

คำว่า วิชาชีพ มาจากคำสนธิ คือ “วิชา” และ “อาชีพ” ถ้าสังเกตแล้วจะเห็นว่าวิชาชีพนั้นไม่ใช่อาชีพธรรมดา แต่ประกอบด้วย วิชา ด้วย ดังนั้นอาชีพทุกอาชีพไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพทั้งหมด มีเพียงบางอาชีพเท่านั้นที่ได้รับเกียรติถือว่าเป็นวิชาชีพ

สำหรับภาษาอังกฤษ Profession มาจากคำกริยา to profess จากคำภาษาละติน pro + fateri แปลว่า ยอมรับหรือรับว่าเป็นของตน (ศัพท์นี้เดิมใช้ในทางศาสนา เป็นการประกาศว่าตนมีศรัทธาในศาสนาหรือประกาศปฏิญาณตน) พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงแปลคำศัพท์ Profession ว่า อาชีว-ปฏิญาณ (อาชีพ+ คำปฏิญาณ)

เพราะสภาพอันแท้จริงแห่งวิชาชีพ คือ การปฏิณาญตนต่อสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า จะประกอบอาชีพตามธรรมนิยมซึ่งมีวางไว้เป็นบรรทัดฐาน อาชีวปฏิญาณในชั้นต้น ได้แก่ วิถีอาชีพของนักบวชซึ่งต้องเคร่งครัดในระเบียบวินัยที่บังคับไว้และต่อมา คือ นักกฎหมาย แพทย์ เภสัชกร นักบัญชี ฯลฯ ซึ่งจัดองค์กรควบคุมกันเอง มีวินัย และจริยธรรมอันเคร่งครัด

วิชาชีพหรือ Profession หมายถึง
วิชาชีพ คือ งานที่ตนได้ปฏิญาณว่าจะอุทิศตัวทำไปตลอดชีวิต เป็นงานที่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนมานาน เป็นงานที่มีขนบธรรมเนียมและจรรยาของหมู่คณะโดยเฉพาะ ได้รับค่าตอบแทนในลักษณะค่าธรรมเนียม (fee) หรือ ค่ายกครู มิใช่ค่าจ้าง (Wage)

รวมอาชีพ มีอะไร สุจริต อิสระ น่าสนใจ ในฝัน

การเป็นวิชาชีพ

ลักษณะสำคัญของการเป็นวิชาชีพ
1.มีองค์ความรู้เฉพาะของตน ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องเข้ารับการศึกษา ฝึกอบรมให้มีความรู้ในศาสตร์เฉพาะของวิชาชีพนั้นๆ

2.มีความเป็นอิสระในการประกอบวิชาชีพ เป็นการประกอบวิชาชีพที่มีมาตรฐานการปฏิบัติเป็นการเฉพาะสำหรับวิชาชีพนั้นๆ โดยมีองค์ความรู้เป็นพื้นฐาน บุคคลอื่นไม่สามารถจะมาสั่งการให้ปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ได้ นอกจากนี้การปกครองกันเองภายในวิชาชีพเดียวกันยังเป็นอิสระจากการควบคุมของคนนอกวิชาชีพ เช่น ถ้าสมาชิกคนใดกระทำผิด การพิจารณาจะเริ่มจากคณะกรรมการขององค์กรวิชาชีพก่อน

3.มีกฎหมายรองรับการประกอบวิชาชีพ
หมายถึง จะต้องมีการขึ้นทะเบียนเพื่อขออนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้แก่ ใบประกอบวิชาชีพ

4.มีจรรยาบรรณ ตราขึ้นเพื่อผู้ประกอบวิชาชีพดำรงตนหรือประพฤติตนอยู่ในความถูกต้อง ดีงามต่อผู้รับบริการ ต่อเพื่อนผู้ร่วมวิชาชีพ ต่อตนเอง และต่อสังคมส่วนรวม

5.มีสำนึกที่จะให้บริการ เมื่อถูกเรียกร้องการบริการจะต้องเต็มใจที่จะให้บริการแก่ผู้มารับบริการได้เสมอ บางครั้งอาจจะต้องสละความสุขส่วนตัว มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตน

หลักการของวิชาชีพ

วิชาชีพเป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า (Profession) ที่มีรากศัพท์มาจากคำกริยา to profess ที่มาจากภาษาละติน pro+ fateri แปลว่า ยอมรับ, รับว่าเป็นของตน ซึ่งตอนแรกใช้ศัพท์ภาษาไทยว่า อาชีวปฏิญญาณ ซึ่งพระเจ้าวรงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของสังคมไทยได้ทรงบัญญัติไว้ ซึ่งแตกต่างกับคำว่า Occupation ที่เรียกว่า อาชีพ การที่เรียกว่า อาชีวปฏิญญาณ เนื่องจากรากฐานที่มาของคำนี้คือ การปฏิญญาณตนต่อสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า จะประกอบอาชีพตามธรรมเนียมที่วางไว้เป็นบรรทัดฐาน หาใช่การทำมาหากิน หรือทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่เพียงอย่างเดียว คำนี้เดิมใช้ในทางศาสนา หมายความว่า การประกาศตนว่ามีศรัทธาในศาสนาหรือ การประกาศปฏิญญาณตน ใช้ในการปฏิญญาณตนในทางศาสนาคริสต์ หากนับไปแล้วนักบวชในทางศาสนาคริสต์เป็น อาชีวปฏิญญาณแรกของโลก แล้วมาใช้ในวงการแพทย์ และทนายความ และขยายมามาสู่วิชาชีพต่างๆ เช่นวิศวกร สถาปนิก บัญชี สัตวแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือผู้ประกอบโรคศิลปะบางกลุ่มเป็นต้น

องค์ประกอบความเป็นวิชาชีพ

การที่จะเรียกว่าเป็นวิชาชีพได้นั้น ศาสตราจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ ปรมาจารย์ด้านกฎหมายท่านหนึ่งในสังคมไทย ได้อธิบายไว้จะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 3 ลักษณะ ด้วยกัน ได้แก่
1)เป็นอาชีพที่เป็นการงานที่มีการอุทิศตนทำไปตลอดชีวิต
2)การงานที่ทำนั้น ต้องได้รับการสั่งสอนอบรมเป็นวิชาชีพชั้นสูง ในลักษณะอบรมกันหลายปี
3)ผู้ทำงานประเภทนั้น จะต้องมีชุมชน หรือเป็นหมู่คณะ ที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีสำนึกใน จรรยาบรรณ เกียรติยศ และศักดิ์ศรี ตลอดจนมีองค์กรและกระบวนการเพื่อสอดส่องพิทักษ์รักษาขนบธรรมเนียม เกียรติศักดิ์ ศักดิ์ศรี นั้นด้วย
การใช้คำว่า วิชาชีพ ได้มีการนำไปใช้กว้างมากขึ้น ถูกบ้างผิดบ้างในภายหลัง จนมีคำที่มีความหมายตรงกันข้าม คือ คำว่าสมัครเล่น หรือในภาษาอังกฤษว่า Amateur ตามมา และในที่สุดคำว่าอาชีพและวิชาชีพ ก็มีการใช้ปะปนกันไปและบางทีก็ไม่เข้าใจรากฐานที่มี จนทำให้ดูเหมือนว่าไม่แตกต่างกัน

อ่านเพิ่มเติม >> ข้อตกลงอาเซียนวิชาชีพ

ความหมายของวิชาชีพ
ความหมายของวิชาชีพ

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )