รับทำบัญชี.COM | ระดมเงินทุนขายหุ้นบริษัท เพิ่มทุนของบริษัท?

Click to rate this post!
[Total: 118 Average: 5]

การออกระดมเงินและการจำหน่ายหุ้นกู้

หุ้นกู้คือตราสารแสดงพันธะหนี้สินระยะยาวที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจการต้องการเงินทุนเป็นจำนวนมากเกินกว่าจะกู้ยืมได้จากเจ้าหนี้เพียงรายเดียว ดังนั้นกิจการจึงต้องทำการกู้ยืมจากเจ้าหนี้มากกว่า 1 ราย จึงได้มีการแบ่งจำนวนเงินออกเป็นส่วนๆ และกำหนดให้เป็นมูลค่าของหุ้นกู้ โดยจะออกให้กับผู้ถือซึ่งอาจจะระบุชื่อผู้ถือลงในตราสารหรือไม่ก็ได้

ตามปกติในตราสารจะแสดงราคาตามมูลค่าอันเป็นจำนวนเงินต้นที่จะต้องจ่ายชำระ ณวันถึงกำหนด อัตราดอกเบี้ยและกำหนดเวลาการจ่ายดอกเบี้ย ในการจำแนกประเภทหุ้นกู้จะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการออกหุ้นกู้ซึ่งอาจจำแนกตามหลักประกันหุ้นกู้ในการออกจำหน่ายหุ้นกู้ ซึ่งหุ้นกู้ก็จะมีแบบหุ้นกู้ชนิดมีหลักประกันและหุ้นกู้ชนิดที่ไม่มีหลักประกัน

และจำแนกตามกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอนหุ้นกู้ ซึ่งก็จะแยกย่อยออกเป็น หุ้นกู้ไถ่ถอนปกติ หุ้นกู้ไถ่ถอนก่อนครบกำหนด หุ้นกู้ไถ่ถอนเป็นงวด และหุ้นกู้แปลงสภาพ การออกหุ้นกู้มีคำที่เกี่ยวข้องซึ่งควรทราบถึงความหมายดังต่อไปนี้

การออกระดมเงิน

  1. ราคาตามมูลค่าหรือราคาที่ตราไว้ (Par Value, Face Value, Principal Amount Of Maturity Value) คือมูลค่าของหุ้นกู้ที่กำหนดไว้ในใบหุ้นกู้ เป็นจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับคืนเมื่อหุ้นกู้สูงกว่าราคาตามมูลค่าของหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอน
  2. ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ (Bond Premium) คือส่วนต่างของราคาออกจำหน่ายหุ้นกู้สูงกว่าราคาตามมูลค่าของหุ้นกู้ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากดอกเบี้ยจ่ายของหุ้นกู้มีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ทำให้กิจการที่ออกจำหน่ายหุ้นกู้สามารถขายหุ้นกู้ได้ในราคาสูงกว่ามูลค่า
  3. ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นกู้ (Bond Discount) คือส่วนต่างของราคาออกจำหน่ายหุ้นกู้ต่ำกว่าราคาตามมูลค่าของหุ้นกู้ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากดอกเบี้ยจ่ายของหุ้นกู้มีอัตราต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ทำให้กิจการที่ออกจำหน่ายหุ้นกู้ไม่สามารถจำหน่ายหุ้นกู้ได้ในราคาตามมูลค่า จำเป็นต้องจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า

การคำนวณราคาของหุ้นกู้ที่ออกจำหน่าย

ในการออกจำหน่ายหุ้นกู้กิจการอาจจำหน่ายได้ในราคาที่เท่กับราคาตามมูลค่า หรือสูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าของหุ้นกู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้เปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในการคำนวณราคาจำหน่ายหุ้นกู้จะพิจารณาจากปัจจัย 2 อย่างรวมกันคือ

  1. มูลค่าปัจจุบันของเงินที่ต้องจ่ายเมื่อหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอน
  2. มูลค่าปัจจุบันของดอกเบี้ยที่จ่ายเป็นงวดตลอดอายุของหุ้นกู้

การบันทึกบัญชีหุ้นกู้ที่ออกจำหน่าย

ในการบันทึกบัญชีหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายจะแบ่งหัวข้อศึกษาเป็น 2 หัวข้อดังนี้

  1. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการออกจำหน่ายหุ้นกู้โดยรับชำระเป็นเงินสดทั้งจำนวนในคราวเดียว ในการบันทึกบัญชีจะแยกเป็น 2 กรณีคือ
  • ออกจำหน่ายหุ้นกู้ในวันที่ตรงกับวันจ่ายดอกเบี้ย
  • ออกจำหน่ายหุ้นกู้ในวันที่ไม่ตรงกับวันจ่ายดอกเบี้ย

ในการออกจำหน่ายหุ้นกู้ให้บันทึกบัญชีหุ้นกู้ด้วยจำนวนเงินเท่ากับมูลค่า ดังนั้นถ้าจำหน่ายหุ้นกู้ได้ในราคาสูงกว่ามูลค่าให้บันทึกจำนวนเงินส่วนต่างในบัญชีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นกู้ ในการจ่ายดอกเบี้ยของหุ้นกู้นั้นจะจ่ายตามวันที่กำหนดไว้ในใบหุ้น ดังนั้นถ้ามีการออกจำหน่ายหุ้นกู้ในวันที่ไม่ตรงกับวันจ่ายดอกเบี้ย ผู้ซื้อหุ้นกู้จะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็นค่าดอกเบี้ยค้างนับตั้งแต่วันที่จ่ายดอกเบี้ย ครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่จำหน่ายหุ้นกู้ซึ่งเป็นการจ่ายค่าดอกเบี้ยล่วงหน้าให้กับผู้ขาย โดยผู้ซื้อหุ้นกู้จะได้รับดอกเบี้ยส่วนที่จ่ายไปล่วงหน้าคืนเมื่อถึงงวดของดอกเบี้ย ทั้งนี้เพราะจะได้รับดอกเบี้ยหุ้นกู้เต็มจำนวนแม้จะถือหุ้นกู้ไม่ครบตามระยะเวลาของงวดดอกเบี้ย สำหรับค่าดอกเบี้ยค้างให้ผู้ออกหุ้นกู้บันทึกไว้ในบัญชีดอกเบี้ยค้างจ่ายหรือดอกเบี้ยจ่ายก็ได้

  1. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการออกจำหน่ายหุ้นกู้ในลักษณะอื่นๆ ในการออกจำหน่ายหุ้นกู้นั้นจะแยกเป็น 2 กรณีดังนี้

ออกจำหน่ายหุ้นกู้เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์

ออกจำหน่ายหุ้นกู้เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ ในกรณีที่ออกจำหน่ายหุ้นกู้เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ ในกรณีนี้ให้บันทึกการออกจำหน่ายหุ้นกู้ด้วยราคาของหุ้นกู้ที่อาจจำหน่ายได้เป็นเงินสด ณ วันที่ออกจำหน่ายหุ้นกู้ แต่ถ้าไม่สามารถหาราคาจำหน่ายของหุ้นกู้ได้ให้ใช้ราคาตลาดของสินทรัพย์ที่ได้รับเป็นราคาสำหรับบันทึกบัญชี ผลต่างระหว่างมูลค่าของหุ้นกู้กับราคาจำหน่ายเป็นเงินสดของหุ้นกู้หรือราคาตลาดของสินทรัพย์ให้บันทึกเป็นส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าของหุ้นกู้แล้วแต่กรณี

ออกจำหน่ายหุ้นกู้โดยมิได้จำหน่ายทั้งหมดในคราวเดียว

ออกจำหน่ายหุ้นกู้โดยมิได้จำหน่ายทั้งหมดในคราวเดียว ในกรณีนี้จะทยอยนำหุ้นกู้ออกจำหน่าย ดังนั้นการบันทึกบัญชีหุ้นกู้ที่จดทะเบียนไว้ทั้งหมดมีวิธีปฏิบัติดังนี้

– วิธีบันทึกบัญชีเฉพาะหุ้นกู้ที่จำหน่าย สำหรับหุ้นกู้ที่จดทะเบียนจะบันทึกความทรงจำ
– วิธีบัญชีโดยเปิดบัญชีหุ้นกู้จดทะเบียนกับบัญชีหุ้นกู้ยังมิได้ออกจำหน่าย เมื่อนำหุ้นกู้ออกจำหน่ายจะบันทึกลดยอดบัญชีหุ้นกู้ยังมิได้ออกจำหน่าย ดังนั้นจำนวนหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายแล้วจะทราบได้จากผลต่างของบัญชีหุ้นกู้จดทะเบียนกับบัญชีหุ้นกู้ยังมิได้ออกจำหน่าย

ค่าใช้จ่ายในการออกจำหน่ายหุ้นกู้

ในการออกจำหน่ายหุ้นกู้จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่าย ค่าธรรมเนียมทางบัญชี ค่าพิมพ์ใบหุ้น ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้บันทึกไว้ในบัญชีค่าใช้จ่ายในการออกจำหน่ายหุ้นกู้รอตัดบัญชี และดำเนินการตัดบัญชีหรือตัดจำหน่ายด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันทุกปีตลอดอายุของหุ้นกู้

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )